บทความวิชาการ
การวินิจฉัยโรคเกาต์และแนวทางการรักษาภาวะข้ออักเสบเฉียบพลันในโรคเกาต์
ชื่อบทความ การวินิจฉัยโรคเกาต์และแนวทางการรักษาภาวะข้ออักเสบเฉียบพลันในโรคเกาต์
ผู้เขียนบทความ ฐาปนี ใจปินตา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-004-12-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 27 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 26 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเป็นผลจากการที่ระดับกรดยูริกในเลือดสูงเกินจุดอิ่มตัว ทำให้เกิดการตกผลึก เกลือโมโนโซเดียมยูเรต (monosodium urate; MSU) บริเวณข้อและเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย โดยผลึกเกลือดังกล่าวจะมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบตามมา หากระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ผลึกเกลือ MSU มากขึ้นตามไปด้วยและทำให้เกิดก้อนโทฟัสบริเวณข้อ เนื้อเยื่อและผิวหนัง ซึ่งมีผลทำลายกระดูกและข้อในที่สุด นอกจากนี้ในระยะท้ายของโรค ผลึกเกลือ MSU ที่เกิดขึ้นเรื้อรังยังส่งผลเสียต่อระบบไตของผู้ป่วย (1,2) โรคเกาต์พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ (2) และเป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบ อัตราการเกิดโรคเกาต์เพิ่มขึ้น 2 เท่า โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงและเพิ่มขึ้นตามอายุ (3) โดยอายุเฉลี่ยที่เริ่มเป็นโรคคือ 60 ปี (2) โรคเกาต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กลุ่มอาการทางเมตาบอลิก (metabolic syndrome) โรคเบาหวาน (3) โรคหัวใจล้มเหลวและโรคไตเรื้อรัง (2) การรักษาโรคเกาต์อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับข้อและไตลง (3)
คำสำคัญ