บทความวิชาการ
ตำรับเซรุ่มแก้พิษงูในตำรายาของประเทศไทย
ชื่อบทความ ตำรับเซรุ่มแก้พิษงูในตำรายาของประเทศไทย
ผู้เขียนบทความ ภญ.ศศิวิมล พัฒเสมา
สถาบันหลัก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
รหัสกิจกรรม 3002-1-000-002-12-2559
ผู้ผลิตบทความ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 25 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เซรุ่มแก้พิษงู หรือ antivenin มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด เพื่อให้เซรุ่มแก้พิษงูทำลายพิษที่เข้าสู่ร่างกายอย่างเร็วที่สุด ตำรายาของประเทศไทยฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 (Thai Pharmacopoeia I, TP I) ได้บรรจุมอโนกราฟเซรุ่มแก้พิษงูชนิดเดี่ยว (monovalent) ในยาประเภทชีววัตถุ (biological products) กลุ่ม antisera จำนวน 6 ตำรับ คือ เซรุ่มแก้พิษงูสามเหลี่ยม เซรุ่มแก้พิษงูเห่า เซรุ่มแก้พิษงูเขียวหางไม้ เซรุ่มแก้พิษงูจงอาจ เซรุ่มแก้พิษงูกะปะ และเซรุ่มแก้พิษงูแมวเซา (1) สำหรับตำรายาของประเทศไทยฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (Thai Pharmacopoeia II, TP II) ได้เพิ่มมอโนกราฟเซรุ่มแก้พิษงู monovalent อีก 1 ตำรับ คือ เซรุ่มแก้พิษงูทับสมิงคลา และเพิ่มเซรุ่มแก้เซรุ่มแก้พิษงูหลายชนิด (specific polyvalent antivenin) 2 ตำรับ คือ เซรุ่มแก้พิษงูระบบโลหิตชนิดรวม และเซรุ่มแก้พิษงูระบบประสาทชนิดรวม ดังนั้นใน TP II จึงมีมอโนกราฟเซรุ่มแก้พิษงูจำนวน 9 ตำรับ บทความนี้จะเสนอความเป็นมาในการคัดเลือก การปรับปรุงและจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานในมอโนกราฟเซรุ่มแก้พิษงูที่ผ่านการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจัดทำตำรายาของประเทศไทย ให้บรรจุใน TP II รวมทั้งอธิบายความหมายของเซรุ่มแก้พิษงู สถานการณ์การถูกงูพิษกัด ตำรับเซรุ่มแก้พิษในตำรายาต่างประเทศ งูพิษในประเทศไทย พิษงูตลอดจนการผลิตและการควบคุมคุณภาพของเซรุ่มแก้พิษงูเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ที่สนใจและเป็นมาตรฐานในการตัดสินคุณภาพของเซรุ่มแก้พิษงูที่ผลิตและจำหน่ายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
คำสำคัญ
เซรุ่ม, พิษงู, ตำรายา