บทความวิชาการ
A review of Emergency contraception pills (ECP)
ชื่อบทความ A review of Emergency contraception pills (ECP)
ผู้เขียนบทความ รศ.สุณี เลิศสินอุดม
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2006-1-000-003-12-2559
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 10 ธ.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 09 ธ.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่พร้อม เป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นหากเกิดความผิดพลาด เช่น ถุงยางฉีกขาด/รั่ว ล้มเหลวจากการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น หรือลืมทานยาคุมกำเนิดแบบทั่วไปใน 1 – 7 วันแรกของแผงยา วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ได้ คือ การคุมกำเนิดฉุกเฉิน ซึ่งได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (Food and drug administration: FDA) และใช้กันอย่างแพร่หลายในนาม Plan B, Women’s capital corporation โดยมี 3 วิธี คือ 1.Emergency contraceptive pills: ECPs คือ การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ประกอบไปด้วยตัวยา progestin เดี่ยวๆ (levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัม./เม็ด) จำนวน 2 เม็ด 2.Yuzpe method คือ การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ประกอบไปด้วยตัวยาผสมระหว่าง estrogen (esthinyl estradiol 0.1 – 0.2 มิลลิกรัม) และ progestin (levonorgestrel 0.5 – 0.6 มิลลิกรัม หรือ norgestrel 1.0 – 1.2 มิลลิกรัม) 3.การใช้ห่วงอนามัย copper-bearing intrauterine devices (IUDs) การคุมกำเนิดนี้จะให้ประสิทธิภาพภายใน 2 – 3 วัน1 โดยจะไปรบกวนการตกไข่ หรือรบกวนการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ แต่หากได้รับการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้วจะไม่สามารถป้องกันได้ 2 โดยในประเทศไทยการคุมกำเนิดฉุกเฉินที่นิยมมากที่สุดคือ การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดที่มีฮอร์โมน progestin ตัวเดียว
คำสำคัญ
การคุมกำเนิด , Emergency contraceptive pills, ECP