0 2591 9992 กด 4
ccpe@pharmacycouncil.org
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับ ประกาศ และคู่มือ
การประชุมวิชาการ
บทความวิชาการ
ขั้นตอนและคำขอ
ตรวจสอบหน่วยกิต
คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่งข้อมูลแจ้งเตือนสมาชิก ผ่านช่องทาง sms และ email ในวันที่ 19 ธ.ค. 2567
บทความวิชาการ
ขนาดยา Vancomycin ที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตชนิดต่อเนื่อง
ชื่อบทความ
ขนาดยา Vancomycin ที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตชนิดต่อเนื่อง
ผู้เขียนบทความ
วิภาวี วาทยะจินดา, เด่นพงศ์ พัฒนเศรษฐานนท์*
สถาบันหลัก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม
1005-1-000-003-12-2567
ผู้ผลิตบทความ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ
ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน
วันที่ได้รับการรับรอง
29 ธ.ค. 2567
วันที่หมดอายุ
28 ธ.ค. 2568
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Vancomycin เป็นยาต้านปฏิชีวะนะที่ใช้บ่อยในผู้ป่วย critical illness ที่มีภาวะ sepsis หรือ septic shock เพื่อครอบคลุมเชื้อ Gram-positive cocci โดยเฉพาะเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA), methicillin-resistant Staphylococcus epidermis (MRSE) และ Enterococcus spp. และพบว่า 50% ของผู้ป่วย sepsis หรือ septic shock จะมีภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการทำงานของไต อันนำมาซึ่งภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury; AKI) (Ali et al., 2007 และ Uchino et al., 2005) ที่ส่งผลให้เกิด fluid overload และ metabolic abnormality โดย 86.2% ของผู้ป่วย critical illness ที่มีภาวะ AKI จะได้รับการบำบัดทดแทนไตชนิดต่อเนื่อง (continuous renal replacement therapy, CRRT) โดยวิธีนี้จะมีความสามารถในการผลักดันของเสียหรือสารที่มีขนาดโมเลกุลปานกลางถึงใหญ่ผ่านเยื่อตัวกรองได้โดยไม่ส่งผลต่อ hemodynamic (Overberger et al., 2007) Vancomycin เป็นยาที่มีความเป็น hydrophilicity โดยมีขนาดโมเลกุลระดับปานกลาง (molecular weight 1,485.74 Da) และมี protein-binding ต่ำ (10-50%) จากคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ vancomycin สามารถเคลื่อนที่ผ่านเยื่อตัวกรองได้ ดังนั้น CRRT จึงมีความสามารถในการเพิ่มอัตราการกำจัด (clearance; Cl) และส่งผลให้ความเข้มข้นของ vancomycin ลดลง และอาจต่ำกว่าช่วงการรักษา โดยเป้าหมายของช่วงการรักษาจะแตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดของเชื้อ ตำแหน่งการติดเชื้อ และระดับความรุนแรงทางคลินิก ซึ่งจะกำหนด trough concentration ที่ steady state อยู่ในช่วง 10-20 mg/L แต่กรณีการติดเชื้อ MRSA ที่ MIC = 1 เป้าหมายช่วงการรักษากำหนด AUC-24 hr ที่ระดับ 400-600 mg*hr/L ปัจจุบันข้อมูลด้าน pharmacokinetic ของ vancomycin ในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตชนิดต่อเนื่อง (CRRT) ยังมีข้อจำกัด และยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งการรักษาภาวะติดเชื้อด้วยยา vancomycin ในผู้ป่วยวิกฤต (critical illness) สิ่งสำคัญคือการทำให้ระดับยาถึงเป้าหมายของช่วงการรักษาให้เร็วที่สุด การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง pharmacokinetics ของยา vancomycin ในกลุ่มผู้ป่วยวิกฤติที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตชนิดต่อเนื่องจึงมีความสำคัญเพื่อใช้พิจารณาขนาดยาเริ่มต้น (initial dose) ที่เหมาะสม
คำสำคัญ
Vancomycin