บทความวิชาการ
บทบาทของยากลุ่มเมลาโทนินและอนุพันธ์ในโรคนอนไม่หลับ(Role of melatonin and derivatives in insomnia disorder)
ชื่อบทความ บทบาทของยากลุ่มเมลาโทนินและอนุพันธ์ในโรคนอนไม่หลับ(Role of melatonin and derivatives in insomnia disorder)
ผู้เขียนบทความ ทวนธน บุญลือ 1ว.ภ. (เภสัชบำบัด)อาจารย์ กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-001-11-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 พ.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 01 พ.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคนอนไม่หลับเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทางคลินิก โดยมีอาการหลักคืออาการนอนไม่หลับซึ่งหมายรวมถึงการนอนหลับยาก การไม่สามารถคงการนอนหลับอยู่ตลอดจนตื่น การนอนที่ไม่มีคุณภาพแม้จะมีโอกาสหรือเวลาการนอนเพียงพอ ปัจจุบันการวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับอ้างอิงตามเกณฑ์วินิจฉัยของ Diagnosticand Statistical Manual of Mental Disordersฉบับที่ 5 (DSM-5) แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับประกอบด้วยการรักษาโดยไม่ใช้ยาและใช้ยา ยาที่ได้รับการรับรองให้เป็นทางเลือกหลักในการรักษาอาการนอนไม่หลับได้แก่ ยากลุ่ม benzodiazepines และ nonbenzodiazepines นอกจากนั้นยังมียาทางเลือกรองอื่น ได้แก ยาต้านเศร้า ยาต้านโรคจิตและยากันชักที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึมรวมทั้งยากลุ่มเมลาโทนินและอนุพันธ์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทบาทของยากลุ่มเมลาโทนินและอนุพันธ์ซึ่งประกอบด้วย ยาเมลาโทนินชนิดออกฤทธิ์เนิ่น ramelteon และ agomelatine ซึ่งมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาโรคนอนไม่หลับ โดยเฉพาะยาเมลาโทนินชนิดออกฤทธิ์เนิ่นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยากลุ่มเมลาโทนินและอนุพันธ์ยังมีบทบาทในการรักษาโรคนอนไม่หลับในผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือมีข้อห้ามใช้จากยากลุ่ม benzodiazepines และ non benzodiazepines อีกด้วย
คำสำคัญ
โรคนอนไม่หลับ ยานอนหลับ เมลาโทนิน