บทความวิชาการ
กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) ตอนที่ 2 ความรู้ทางคลินิกและบทบาททางคลินิกของเภสัชกร
ชื่อบทความ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) ตอนที่ 2 ความรู้ทางคลินิกและบทบาททางคลินิกของเภสัชกร
ผู้เขียนบทความ อ.ภก.เกียรติเกรียงไกร โกยรัตโกศล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-002-05-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 15 พ.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 14 พ.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) ควรต้องทำการประเมินผู้ป่วยก่อนทำการรักษา โดยอาจแบ่งเป็นอย่างน้อย 6 ด้าน ได้แก่ การประเมินภาวะช็อก การประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยตามเกณฑ์ของแนวทางเวชปฏิบัติ การประเมินการติดเชื้อร่วม การประเมินภาวะน้ำเกิน การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และการประเมินภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้การรักษาด้วยยาให้เหมาะสม สำหรับการรักษา ควรให้ยาตามอาการแก่ผู้ป่วยเพื่อพยุงสัญญาณชีพ และให้ยากลุ่มลดการอักเสบ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งยาต้านเกล็ดเลือด/ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดทั้งในขณะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล และป้องกันในระยะยาวหลังจากออกจากโรงพยาบาล โดยบทความตอนที่ 2 นี้ จะเหมาะสำหรับเภสัชกรทางคลินิก เนื่องจากจะกล่าวถึงแนวทางการประเมิน และการรักษากลุ่มอาการ MIS-C รวมถึง ข้อมูลยาที่ใช้ในการรักษา และกลไกการออกฤทธิ์เชิงลึกของยาลดการอักเสบ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงบทบาททางคลินิกของเภสัชกรที่มีต่อกลุ่มอาการ MIS-C ไว้ด้วย
คำสำคัญ
กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก, โรคคาวาซากิ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, Intravenous Immunoglobulin, IVIG, วัคซีนโควิด-19