บทความวิชาการ
กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) ตอนที่ 1 ความรู้พื้นฐานและบทบาทโดยทั่วไปของเภสัชกร
ชื่อบทความ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) ตอนที่ 1 ความรู้พื้นฐานและบทบาทโดยทั่วไปของเภสัชกร
ผู้เขียนบทความ อ.ภก.เกียรติเกรียงไกร โกยรัตโกศล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-001-04-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 19 เม.ย. 2566
วันที่หมดอายุ 18 เม.ย. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกิดจากการติดเชื้อไวรัส severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) โดยการติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีมักจะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเด็กบางส่วนได้เกิดกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก (multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C) ขึ้นมา ซึ่งพบหลังการติดเชื้อประมาณ 2-6 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายคลึงกับโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease; KD) กล่าวคือ มีไข้ ความดันโลหิตตก และมีอาการอักเสบกับอวัยวะหลายระบบ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัง และระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งในรายที่รุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิตได้ สำหรับบทความเรื่องนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ตอน ซึ่งในตอนที่ 1 นี้ จะเหมาะสำหรับเภสัชกรโดยทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานทางคลินิก โดยจะกล่าวถึงความรู้พื้นฐาน และภาพรวมของ MIS-C ตั้งแต่ที่มาของกลุ่มอาการ อุบัติการณ์และความชุก ปัจจัยเสี่ยง กลไกการเกิด การป้องกัน อาการและอาการแสดง การวินิจฉัย รวมทั้งแนวโน้มในอนาคต และบทบาทโดยทั่วไปของเภสัชกรต่อ MIS-C
คำสำคัญ
กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก, โรคคาวาซากิ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, Intravenous Immunoglobulin, IVIG, วัคซีนโควิด-19