บทความวิชาการ
อัพเดทความเชี่ยวชาญเรื่องโรคภูมิแพ้ เพื่อการปฏิบัติงานจริงในร้านยา
ชื่อบทความ อัพเดทความเชี่ยวชาญเรื่องโรคภูมิแพ้ เพื่อการปฏิบัติงานจริงในร้านยา
ผู้เขียนบทความ รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี และ อ.ภก.ดร. กิติยศ ยศสมบัติ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-006-03-2566
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 22 มี.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 21 มี.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 0.75 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้สถานการณ์ของประเทศรวมถึงสถานการณ์ระดับโลกมีความเปลี่ยนแปลงและเกิดการปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงด้านสาธารณสุข ซึ่งสถานการณ์ที่ต้องจำกัดผู้ป่วยในสถานพยาบาล จากการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรคเข้าพบแพทย์ยากขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่ไม่อันตราย แต่รบกวนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางผิวหนัง จากการการสำรวจพฤติกรรมผู้ป่วยภูมิแพ้จำนวน 144 คน ที่มาใช้บริการที่ร้านยา พบว่าผู้ป่วยเกินครึ่ง (53.8%) ไม่เคยพบแพทย์เฉพาะทางที่สถานพยาบาลเลย เมื่อมีอาการที่สงสัยว่าเป็นภูมิแพ้จะมาปรึกษาและซื้อยาที่ร้านยาเท่านั้น (Ref 1) ทั้งที่สถิติคร่าวๆพบว่า ประชากรไทยกว่า 16 ล้านคน มีอาการของโรคภูมิแพ้ โดยที่ 70% ของผู้ป่วยทั้งหมด (ราว11.3 ล้านคน) เป็นภูมิแพ้ประเภท Persistent AR (Ref 2) ดังนั้นจึงหมายความว่าผู้ป่วยภูมิแพ้หลายล้านคน หวังพึ่งพาเภสัชกรชุมชนที่มีจำนวนเพียงหลักหมื่นคน ให้ช่วยดูแลโรคภูมิแพ้เป็นอันดับต้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่ม อาจทำให้โรคพัฒนาต่อไปจนเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น หอบหืด หรือ ไซนัสอักเสบ ที่พัฒนาไปจากโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Ref 3) สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ได้เห็นถึงความสำคัญของผลกระทบข้างต้น อีกทั้งปัจจุบันมีข้อมูลใหม่ของตัวยาและแนวทางการรักษาจากสมาคมผู้เชี่ยวชาญต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จึงเล็งเห็นความสำคัญที่เภสัชกรชุมชนซึ่งเป็นบุคลกรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดกับประชาชน ต้องอัพเดทข้อมูลด้านวิชาการอย่างส่ำเสมอซึ่งได้จัดประชุมวิชาการเรื่อง "อัพเดทความเชี่ยวชาญเรื่องโรคภูมิแพ้ เพื่อการปฏิบัติงานจริงในร้านยา ( Updated Allergy Expertise for Real-life Operation) ” เพื่อให้เภสัชกรชุมชนมีทักษะที่พร้อมสำหรับดูแลผู้ป่วยภูมิแพ้รวมถึงโรคที่พบร่วมบ่อยอื่นๆได้อย่างเชี่ยวชาญมากขึ้น Reference (1)2nd Market research (2018), IQVIA Co., Ltd. (2)“Minimal clinically important difference for the rhinoconjunctivitis quality of life questionnaire in allergic rhinitis in Thai population”. Asia Pac Allergy. 2019 Jan;9(1): e6. (3)“Prevalence of impaired lower airway function in Thai patients with allergic rhinitis”. Asian Biomedicine Vol. 10 No. 1 February 2016; 67 – 74.
คำสำคัญ
การคัดกรองโรคภูมิแพ้, เทคนิคและการใช้ยาพ่นจมูก
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิกออนไลน์ www.pharcpa.com