บทความวิชาการ
การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตาม GOLD Guideline 2023
ชื่อบทความ การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตาม GOLD Guideline 2023
ผู้เขียนบทความ ภญ.อัญชนา พงศ์พันธ์, ภก.บรรณวิชญ์ สภาพทรัพย์, ภก.ภูมิพัฒน์ ทองน้อย, ภก.อรรถกร อ่อนคำ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-1-000-001-03-2566
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 09 มี.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 08 มี.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) หรือ COPD เป็นโรคที่มีความสำคัญซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยเรื้อรังและเสียชีวิตไม่ว่าจะเกิดจากการดำเนินไปของโรค หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา โดยเป็นหนึ่งในสามของสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก นอกจากนี้การกำเริบเฉียบพลันของโรคยังส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต การเสื่อมของสมรรถภาพปอด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย The Global Initiative for Obstructive Lung Disease (GOLD) ได้มีการเผยแพร่แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคำแนะนำสำหรับการจัดการโรคโดยอ้างอิงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่ง GOLD 2023 Report ได้มีการปรับปรุงข้อมูลและแก้ไขคำแนะนำสำหรับการวินิจฉัย การประเมิน และการรักษา บทความนี้จึงเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยอ้างอิงตามแนวทางเวชปฏิบัติของ Global Strategy for Diagnosis, Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease 2023 (GOLD Guideline 2023) เปรียบเทียบกับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2565 เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของโรค การวินิจฉัย การเริ่มการรักษาและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม การป้องกันและรักษาการกำเริบเฉียบพลันของโรค
คำสำคัญ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD, Exacerbation, Bronchodilator