บทความวิชาการ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Eptinezumab ในการรักษาไมเกรน
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Eptinezumab ในการรักษาไมเกรน
ผู้เขียนบทความ พจนา โกเมศมุนีบริรักษ์, ภ.ม. และ วรัญญา วิริยะสุนทร, ภ.บ. ฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-1-000-001-01-2566
ผู้ผลิตบทความ กองบริหารการสาธารณสุข
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 26 ม.ค. 2566
วันที่หมดอายุ 25 ม.ค. 2567
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Eptinezumab เป็นยากลุ่ม calcitonin gene-related peptide (CGRP) monoclonal antibody ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.2020 สำหรับใช้รักษาและป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนในผู้ใหญ่ ยานี้บริหารทางหลอดเลือดดำครั้งละ 100 มิลลิกรัม ทุก 3 เดือน การศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า eptinezumab เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน โดยให้ผลการรักษาตั้งแต่ขนานแรกของการได้รับยาและมีประสิทธิภาพตลอดระยะเวลาการติดตามเป็นเวลาหนึ่งปีด้วยขนาดยา 100 หรือ 300 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังพบว่ายา eptinezumab สามารถลดระยะเวลาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน (acute migraine) ได้ดี อีกทั้งเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยในผู้ป่วยที่มีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน และโรคเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากไม่พบรายงานอันตรกิริยากับยาอื่นและมีอุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ค่อนข้างน้อย ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ การอักเสบของเยื่อจมูกและลำคอ (nasopharyngitis) การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และไซนัสอักเสบซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรง การศึกษาในอนาคตจำเป็นต้องประเมินเรื่องความปลอดภัยระยะยาว ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในกลุ่มประชากรอื่นๆ และการเปรียบเทียบกับยาตัวอื่นในกลุ่มเดียวกันต่อไป
คำสำคัญ
eptinezumab, calcitonin gene-related peptide monoclonal antibody, CGRP, ไมเกรน