บทความวิชาการ
ปัจจัยทางเภสัชกรรมที่มีผลต่อการดูดซึมยาในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทาน
ชื่อบทความ ปัจจัยทางเภสัชกรรมที่มีผลต่อการดูดซึมยาในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทาน
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ.ชุติมา สินสืบผล
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-1-000-001-12-2565
ผู้ผลิตบทความ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 25 ธ.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 24 ธ.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ยาน้ำแขวนตะกอนเป็นระบบยาน้ำกระจายตัวรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากอนุภาคของแข็งกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในตัวกลางที่เป็นของเหลวซึ่งอาจเป็นน้ำหรือน้ำมัน ในทางเภสัชกรรมการเตรียมยารูปแบบนี้จะช่วยทำให้ตัวยาที่มีปัญหาการละลายน้ำ มีรสชาติไม่ดี และมีความคงตัวต่ำเมื่ออยู่ในรูปสารละลายสามารถเตรียมให้อยู่ในรูปแบบยาน้ำได้ เนื่องจากอนุภาคในตำรับยาน้ำแขวนตะกอนจะอยู่ในรูปผงละเอียดที่มีพื้นที่ผิวมาก จึงสามารถสัมผัสกับของเหลวในทางเดินอาหารได้มากทำให้ยาละลายและถูกดูดซึมได้เร็ว ดังนั้นยาน้ำแขวนตะกอนจึงให้ค่าชีวประสิทธิผลของตัวยาสูงกว่ายาในรูปแบบของแข็ง อัตราการละลาย (dissolution rate) เป็นขั้นตอนกำหนดอัตราเร็ว (rate-limiting step) ของกระบวนการดูดซึมยาจากตำรับยาน้ำแขวนตะกอน อย่างไรก็ตามยาน้ำแขวนตะกอนของยาต่างชนิดกัน หรือมีส่วนประกอบในตำรับแตกต่างกันก็อาจเกิดการดูดซึมในทางเดินอาหารได้เร็วหรือช้าต่างกัน ดังนั้นการทราบถึงปัจจัยทางด้านเภสัชกรรม เช่น คุณสมบัติทางเคมีกายภาพของตัวยาและผลของสารที่เป็นส่วนประกอบในตำรับจะทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการดูดซึมของตัวยาในตำรับยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทานให้มีค่าชีวประสิทธิผลเพิ่มขึ้นได้
คำสำคัญ
ยาน้ำแขวนตะกอน การดูดซึมยา ปัจจัยทางเภสัชกรรม