บทความวิชาการ
เภสัชวิทยาของยาคลายกล้ามเนื้อ tolperisone, eperisone และ orphenadrine
ชื่อบทความ เภสัชวิทยาของยาคลายกล้ามเนื้อ tolperisone, eperisone และ orphenadrine
ผู้เขียนบทความ อ.ดร.ภก.พงศธร มีสวัสดิ์สม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-011-07-2565
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 07 ก.ค. 2565
วันที่หมดอายุ 06 ก.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Tolperisone, eperisone และ orphenadrine เป็นยาคลายกล้ามเนื้อที่ใช้กันมานาน กลไกการออกฤทธิ์ของ tolperisone และ eperisone คือยับยั้ง voltage-gated sodium channel และ voltage-gated calcium channel ส่วนกลไกการออกฤทธิ์ของ orphenadrine คือยับยั้ง voltage-gated sodium channel และตัวรับ NMDA ยาเหล่านี้มีทั้งฤทธิ์ คลายกล้ามเนื้อ และฤทธิ์แก้ปวด โดยเชื่อว่าเกิดจากการออกฤทธิ์ในตำแหน่งต่าง ๆ ของวิถีประสาทสั่งการกล้ามเนื้อลาย และวิถีประสาทรับความรู้สึกปวด ยาทั้ง 3 ตัวถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับโดย cytochrome P450 tolperisone และ eperisone ทำให้เกิดอาการง่วงซึมน้อยกว่า orphenadrine รวมถึงยาคลายกล้ามเนื้ออื่น ๆ แต่มีรายงานการทำให้เกิดผื่นแพ้ หรือการแพ้ยาที่รุนแรงแบบอื่น ๆ ได้ ส่วน orphenadrine มีอาการไม่พึงประสงค์ด้าน anticholinergic สูง ไม่ควรใช้ในผู้สูงอายุ ไม่ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นการรักษาอันดับแรกในการรักษาอาการปวดเฉียบพลันที่มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อควรใช้เป็นการรักษาเสริมเท่านั้น และในการเลือกใช้ควรคำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์เป็นหลัก
คำสำคัญ
Tolperisone, eperisone, orphenadrine, muscle relaxants
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe