บทความวิชาการ
การใช้ยารักษาภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงระดับปานกลาง เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดจากหลอดเลือดแดงแข็ง
ชื่อบทความ การใช้ยารักษาภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงระดับปานกลาง เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดจากหลอดเลือดแดงแข็ง
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ. อุษาศิริ ศรีสกุล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-1-000-002-06-2565
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 29 มิ.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 28 มิ.ย. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
แม้ว่าการรักษาด้วยยาในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการลดระดับ low-density lipoprotein (LDL) ได้ดี แต่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis Cardiovascular Diseases; ASCVD) ยังคงเหลืออยู่ มีหลักฐานแสดงว่าการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์กับระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ แนวทางเวชปฏิบัติแนะนำการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิด ASCVD และปัจจัยที่เพิ่มระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ โดยแนะนำให้ปรับพฤติกรรมสุขภาพและควบคุมระดับไขมัน LDL ตามเป้าหมาย ผู้ป่วยที่มีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงปานกลาง (135-499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) แนะนำให้เพิ่มขนาดยา statins ก่อนพิจารณาเพิ่มกรดไขมันโอเมกา-3 โดยยา icosapent ethyl ขนาดสูงวันละ 4 กรัม จากผลการศึกษา REDUCE-IT พบว่าลดความเสี่ยงต่อการเกิด ASCVD ร้อยละ 25 ในผู้ป่วยที่มีระวัติ ASCVD หรือมีโรคเบาหวานร่วมกับมีอย่างน้อย 1 ปัจจัยเสี่ยง แต่การใช้ยา omega-3 carboxylic acid จากการศึกษา STRENGTH ไม่พบความแตกต่างของการเกิด ASCVD และควรระวังการใช้กรดไขมันโอเมกา-3 ในผู้ป่วยโรค atrial fibrillation กรณีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจพิจารณาการใช้ยากลุ่ม fibrates ร่วมกับยากลุ่ม statins จากผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่าความเสี่ยงของการเกิด ASCVD ลดลงร้อยละ 28 และควรติดตามการเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายในระหว่างที่ได้รับยาร่วมกัน
คำสำคัญ
ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ