บทความวิชาการ
เคมีการไหล: อนาคตของการสังเคราะห์ยาและสารช่วยทางเภสัชกรรม
ชื่อบทความ เคมีการไหล: อนาคตของการสังเคราะห์ยาและสารช่วยทางเภสัชกรรม
ผู้เขียนบทความ ภก.รศ.ดร.กัมปนาท หวลบุตตา ภญ.ผศ.ดร.ธนิกานต์ แสงนิ่ม และ ภก.กิตติภัฎ สุวรรณพิทักษ์
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-1-000-001-04-2565
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 เม.ย. 2565
วันที่หมดอายุ 31 มี.ค. 2566
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ในบทความนี้จะกล่าวถึงระบบเคมีการไหล (flow chemistry) ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์จากการไหลของสารตั้งต้นเข้ามาผสมกันภายในท่อและมีการควบคุมพารามิเตอร์ต่าง ๆ จนได้ผลิตภัณฑ์ โดยเทคนิคเคมีการไหลนี้ถูกพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้และมีการเริ่มใช้จริงในการผลิตยาและเภสัชภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม เช่น Pfizer-BioNTech vaccine และ Moderna mRNA vaccine ที่เตรียมรูปแบบเภสัชภัณฑ์ชนิดอนุภาคไขมันขนาดนาโน (lipid nanoparticles) ก็ใช้เทคนิคเคมีการไหลนี้ในการผลิต ดังนั้นเทคนิคนี้จึงเป็นเทคนิคที่น่าสนใจและในอนาคตอาจมีการนำมาใช้ในทางเภสัชกรรมของประเทศไทย ผู้เขียนจึงจัดทำบทความนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับผู้ที่สนใจ โดยบทความจะกล่าวถึงเทคโนโลยีการสังเคราะห์สารสำคัญและสารช่วยในทางเภสัชกรรมในปัจจุบัน จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบข้อแตกต่างและข้อดีข้อเสียของแต่ละเทคนิค และกล่าวถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในเคมีการไหล พารามิเตอร์ที่สำคัญของเครื่องมือและการผลิตที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ และยกตัวอย่างการสังเคราะห์สารสำคัญและการเตรียมตำรับด้วยเทคนิคเคมีการไหล
คำสำคัญ
เคมีการไหล, flow chemistry, การสังเคราะห์ยา