บทความวิชาการ
การควบคุมคุณภาพยาเหน็บ : การปลดปล่อยตัวยาสำคัญ
ชื่อบทความ การควบคุมคุณภาพยาเหน็บ : การปลดปล่อยตัวยาสำคัญ
ผู้เขียนบทความ ธีระ ฤทธิรอด, พลัง รังษา, จันทิรา รอดเดช
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-001-06-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 30 มิ.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 29 มิ.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่ฝ่ายผลิตยา ได้ผลิตยาในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว จะต้องทำการสุ่มตัวอย่างยาที่ผลิตได้นั้นไปทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่ายาดังกล่าวสามารถปลดปล่อยตัวยาสำคัญออกมาในเวลาและครบจำนวนตามที่ได้กำหนดไว้ในเภสัชตำรับ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า หลังจากที่ยาได้เข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้วจะสามารถออกฤทธิ์และรักษาโรคได้ คุณภาพของยาเหน็บก็ขึ้นกับปริมาณตัวยาสำคัญและการปลดปล่อยตัวยาด้วยเช่นกัน ดังนั้น นักวิจัยทางเภสัชศาสตร์จึงได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานและออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อทดสอบและประเมินคุณภาพของยาเหน็บ โดยเกณฑ์การพิจารณาการทดสอบคุณภาพของยาเหน็บมีเกณฑ์มาตรฐานขึ้นอยู่กับเภสัชตำรับที่ใช้ในการอ้างอิง เช่น เภสัชตำรับแห่งสหราชอาณาจักร(BP2015) มีวิธีการทดสอบคุณภาพของแท่งยาเหน็บอันประกอบไปด้วย 1) ทดสอบความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในแต่ละหน่วย 2) หาค่าเบี่ยงเบนจากน้ำหนักเฉลี่ยของแท่งยา 3) การทดสอบการปลดปล่อยตัวยาสำคัญ 4) ความถูกต้องของฉลากบนบรรจุภัณฑ์ ในขณะที่เภสัชตำรับของสหรัฐอเมริกา (USP38NF33) มีการทดสอบ 1) ความสม่ำเสมอของปริมาณตัวยาสำคัญในแต่ละหน่วย 2) การปลดปล่อยตัวยาสำคัญ 3) ระยะเวลาการอ่อนตัวของแท่งยา อย่างไรก็ตามการประเมินคุณภาพของยาเหน็บที่ครบถ้วนนั้น ควรประกอบด้วย 1) การตรวจดูลักษณะภายนอก 2) วัดการหลอมละลาย 3) การวัดความแข็ง 4) การทดสอบการปลดปล่อยตัวยาสำคัญและการศึกษาด้านเภสัชจลนศาสตร์ในคน หรือสัตว์ทดลอง สำหรับบทความนี้นำเสนอข้อมูล วิธีการและเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทดสอบการละลายหรือการปลดปล่อยยาตัวยาจากแท่งยาเหน็บทวารหนักชนิดที่ทำนอกร่างกาย รวมทั้งข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้เขียนต่อวิธีทดสอบและการใช้เครื่องมือ
คำสำคัญ
ยาเหน็บ