การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ ก้าวทันเครื่องสำอาง 2 : All About Sunscreens
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ ก้าวทันเครื่องสำอาง 2 : All About Sunscreens
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-003-05-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท ระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2560 และห้องปฏิบัติการภาควิชาเภสัชกรรม (312) อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ
วันที่จัดการประชุม 17 -19 พ.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นักวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การวิจัย-พัฒนา ประเมินและควบคุมคุณภาพของเครื่องสำอาง รวม
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
แสงแดดประกอบไปด้วยรังสีที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยในแสงแดดจะมีรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ รังสียูวี (UV radiation) รังสียูวีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามความยาวคลื่น คือ 1) รังสียูวีเอ (UV-A) มีความยาวคลื่นในช่วง 320-400 นาโนเมตร เมื่อผิวหนังสัมผัสกับรังสีนี้จะทำให้ผิวหนังแก่ก่อนวัย มีจุดด่างดำและฝ้า 2) รังสียูวีบี (UV-B) มีความยาวคลื่นในช่วง 290-320 นาโนเมตร เมื่อผิวหนังสัมผัสกับรังสียูวีบี จะทำให้ผิวหนังไหม้ แสบร้อน บวมแดง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งผิวหนัง 3) รังสียูวีซี (UV-C) มีความยาวคลื่น 210-290 นาโนเมตร รังสีชนิดนี้ไม่สามารถผ่านมาพื้นผิวโลกได้ เนื่องจากถูกดูดซับด้วยโอโซน (ozone) ในชั้นบรรยากาศ จะเห็นได้ว่าผิวหนังคนเราต้องสัมผัสกับรังสียูวีเอและยูวีบี โดยเราสามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสรังสียูวีด้วยการอยู่ในร่ม ใส่เสื้อผ้าป้องกัน หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดจะทำหน้าที่ในการสะท้อน หรือดูดซับแสง ไม่ให้แสงยูวีสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง จึงสามารถดูแลและปกป้องผิวหนังจากอันตรายของแสงแดด
ผลการตรวจสอบค่าความสามารถในการป้องกันรังสียูวีของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดในท้องตลาดโดย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย คณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2549 และ 2550 พบว่า ผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดที่มีค่า SPF ระหว่าง 6-50 มีค่าการปกป้องแสงแดด (Sun Protection Factor, SPF) ต่ำกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลากถึงร้อยละ 48.3 ส่วนผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า 50 มีค่า SPF ต่ำกว่าที่ระบุไว้บนฉลากถึงร้อยละ 90 จากผลการตรวจสอบดังกล่าวทำให้เห็นว่า ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดที่ไม่ได้คุณภาพ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากนี้อาจทำให้บริษัทผู้ผลิตได้รับผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ
ทั้งนี้ข้อกำหนด (regulation) ของผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดจัดเป็นยาสามัญ (Over-The-Counter, OTC drug) ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดในกลุ่มสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรป จัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นต้น ดังนั้นข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดจึงมีความแตกต่างกันระหว่างยากับเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังพบว่าสารปกป้องแสงแดด (UV filters) ที่อนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์และหลักเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพในการปกป้องแสงแดด มีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเทศที่ส่งออก อาทิเช่น มาตรฐาน International Standards Organization (ISO) เช่น ISO 24442, ISO 24443 และ ISO 24444 หรือตามมาตรฐาน US FDA 2011 final rule: Testing and labeling requirement เป็นต้น ตลอดจนในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้แนวโน้มของการใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งการจะขอการรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
ดังนั้นสาขาเภสัชกรรมเทคโนโลยี ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ กฎระเบียบ และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดด รวมถึงวิทยาการในการผลิตผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางในประเทศ ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน และเพิ่มศักยภาพในการส่งออก นอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นระหว่าง ผู้ประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ส่วนราชการ นักวิจัย และผู้สนใจอื่น ๆ ตลอดจนวิทยากรที่มีประสบการณ์เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม
2.1. รู้ถึงผลกระทบของแสงแดดที่มีต่อผิวหนัง
2.2. รู้หลักเกณฑ์ กฎระเบียบ และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดดตามมาตรฐานไทยและสากล
2.3. รู้วิธีการผลิต ควบคุมคุณภาพและประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ปกป้องแสงแดด
2.4. ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครื่องสำอาง
2.5. มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมและนักวิชาการ
คำสำคัญ
UV radiation, UV-A UV-B UV-C, Sun Protection Factor, UV filters
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและการลงทะเบียน 1. ค่าลงทะเบียน บรรยาย บุคคลทั่วไป (ภายใน 1 เมษายน 2560) ท่านละ 4,500 บาท 2. ค่าลงทะเบียน การประชุมเชิงปฏิบัติการ บุคคลทั่วไป (ภายใน 1 เมษายน 2560) ท่านละ 3,500 บาท (จำเป็นต้องลงทะเบียนพร้อมกับภาคบรรยาย) ค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง สมัครพร้อมชำระเงินค่าลงทะเบียน โดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-459192-4 ชื่อบัญชี ก้าวทันเครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan หรือ fax ใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) ทางโทรสารหมายเลข 0-2644-4536 (ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ) ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้วและมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน