การประชุมวิชาการ
การประชุมวิจัยนานาชาติทางเภสัชศาสตร์ประจำปี 2562 (ครั้งที่ 35)
ชื่อการประชุม การประชุมวิจัยนานาชาติทางเภสัชศาสตร์ประจำปี 2562 (ครั้งที่ 35)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-001-03-2562
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมอีสติน มักกะสัน กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 08 มี.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัย และบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 150 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดให้มีการประชุมเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ในสาขาเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างต่อเนื่อง และเป็นงานประชุมที่จัดโดยคณะเภสัชศาสตร์ยาวนานที่สุดงานหนึ่งของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นที่ยอมรับจากนักวิชาการทั่วประเทศ มีการส่งผลงานทางเภสัชศาสตร์ทุกสาขาเพื่อเผยแพร่เป็นจำนวนมากในแต่ละปี สืบเนื่องมาโดยตลอดทุกปี งานประชุมวิจัยประจำปีของคณะเป็นเวทีวิชาการที่เปิดโอกาสให้กับ คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษา ทั้งจากคณะเภสัชศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจทุกท่านจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศได้นำเสนอผลงานวิจัยของตนให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสรับทราบ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์วิจัย รวมถึงการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในอนาคต โดยในปีนี้เป็นการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักวิจัยไทย รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยต่างประเทศแล้ว ยังถือเป็นการสนับสนุนและเสริมความเข้มแข็งให้กับความร่วมมือของนักวิจัยไทยและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในต่างประเทศอีกด้วย
ในการนี้การประชุมวิจัยประจำปีของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (35th International Annual Meeting in Pharmaceutical Sciences) ซึ่งมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตบัณฑิตศึกษา เข้าร่วมจากคณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ตลอดจนคณะและสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยการประชุมจะประกอบด้วยการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและการนำเสนอผลงานวิจัยรับเชิญโดยนักวิจัยไทยและต่างประเทศรวม 20 ท่าน และการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบปากเปล่าและรูปแบบโปสเตอร์ (oral and poster presentations) โดยครอบคลุมเนื้อหาดังนี้
1) Pharmaceutical Chemistry and Natural Products
2) Biopharmaceutical Sciences
3) Pharmaceutical Technology and Cosmetic Sciences
4) Clinical and Social/Administrative Pharmacy
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวงที่กว้างขึ้น ผลงานที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอในงานประชุมวิชาการนี้ จะได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือรวบรวมบทความวิจัย (proceedings) โดยที่ต้นฉบับจะมี 2 รูปแบบ คือ 1) บทคัดย่อ (abstract) ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4 ตามรูปแบบที่กำหนด หรือ 2) บทคัดย่อร่วมกับบทความฉบับสมบูรณ์ (abstract and full paper) ความยาว 5 หน้ากระดาษ A4 (รวมบทคัดย่อ) ตามรูปแบบที่กำหนด โดยผลงานทุกเรื่องจะมีคณะกรรมการพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของผลงาน (peer review) ก่อนการตีพิมพ์ นอกจากนี้ ในการประชุมวิชาการในครั้งนี้ จัดให้มีการมอบรางวัล Nagai Award Thailand 2019 (ครั้งที่ 21) ให้แก่ผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่นระดับนานาชาติในวารสารที่ยอมรับในวงการวิชาการ โดย Professor Tsuneji Nagai ประธาน Nagai Foundation เป็นผู้ให้การสนับสนุนรางวัลนี้มาโดยตลอด ซึ่งรางวัลนี้ถือเป็นรางวัลที่มีเกียรติและทรงคุณค่าทางการวิจัย และจัดเป็นรางวัลที่ทุกคนรู้จักมากที่สุดรางวัลหนึ่งในสาขาเภสัชศาสตร์ โดย Professor Tsuneji Nagai จะเป็นผู้มอบรางวัลนี้ให้แก่นักวิจัยชาวไทยด้วยตนเอง รวมจำนวน 3 รางวัล ดังนี้
1) รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่นสาขา Pharmacy Practice/Social and Administrative Pharmacy รวมจำนวน 1 รางวัล
2) รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่นสาขา Pharmaceutical Sciences รวมจำนวน 2 รางวัล
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายไทยและจากประเทศต่างๆ ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการและวิจัย
2.2 เพื่อเปิดโอกาสให้เภสัชกรทุกสาขา คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยในระดับสากล เพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าและความเป็นผู้นำทางวิชาการของประเทศไทยในระดับภูมิภาค
2.3 เพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยฝ่ายไทยได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับนักวิทยาศาสตร์ของต่างประเทศ ซึ่งอาจนำไปสู่ความร่วมมือทางวิชาการและวิจัย ในระหว่างบุคคลต่อบุคคลต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
1) สมัครเข้าร่วมงานประชุมทางออนไลน์ที่เว็ปไซต์ www.pharm.chula.ac.th/am2019 2) ผู้สมัครเข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบปากเปล่าหรือโปสเตอร์ โดยส่งต้นฉบับเป็นบทคัดย่อ (abstract) หรือ บทคัดย่อร่วมกับบทความฉบับสมบูรณ์ (abstract and full paper) ความยาว 5 หน้ากระดาษ A4 (รวมบทคัดย่อ) ในรูปไฟล์ Words ตามรูปแบบที่กำหนด 3) ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพัชรินทร์ สิทธิชาญคุณะ ฝ่ายวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย E-mail: phatcharin.c@chula.ac.th