การประชุมวิชาการ
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar disorder)
ชื่อการประชุม โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar disorder)
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-020-11-2561
สถานที่จัดการประชุม อาคาร 4 ช้น 6 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วันที่จัดการประชุม 30 พ.ย. 2561
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและบุคคลทั่วไป จำนวนประมาณ 180 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว หรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เป็นความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมา ระหว่างอารมณ์ซึมเศร้า (major depressive episode) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ (mania หรือ hypomania) โดยอาการในแต่ละช่วงอาจเป็นอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือหลาย ๆ เดือนก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยทั้งในด้านการงาน การประกอบอาชีพ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และการดูแลตนเองอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ การทำความเข้าใจในอาการแสดงของโรคอารมณ์สองขั้วนั้นเป็นเรื่องที่น่าท้าทายโดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น Bipolar disorder อาจแบ่งกลุ่มกว้าง ๆ ออกได้เป็น 1. Bipolar I disorder คือ มีอาการเมเนีย สลับกับช่วงซึมเศร้า หรืออาจมีอาการเมเนียเพียงอย่างเดียวก็ได้ 2. Bipolar II disorder คือ มีอาการซึมเศร้า สลับกับช่วงไฮโปเมเนีย (hypomania) พบว่าความชุกชั่วชีวิตของ bipolar disorder นี้โดยรวมที่สำรวจในประชากรทั่วไป พบได้สูงถึงร้อยละ 1.5 -5 ซึ่งอัตราการเกิดโรคครั้งแรกพบบ่อยที่สุดที่ช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมา คือ อายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) อาการของโรคและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะของโรค Bipolar disorder
2 เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปอธิบายในขั้นต้นให้กับผู้อื่น วัยรุ่นและบุคคลในครอบครัวอันเป็นการป้องปรามการเป็นโรคได้วิธีหนึ่ง
3. เพื่อให้เภสัชกรพัฒนาความรู้และความเข้าใจในโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder)

คำสำคัญ
โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วฺ, Bipolar disorder