การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการ \"Integrative Eye Care 2018\"
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการ \"Integrative Eye Care 2018\"
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-009-11-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วันที่จัดการประชุม 29 -30 พ.ย. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ การให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในการรักษาพยาบาล ความก้าวหน้าของระบบสื่อสารสารสนเทศที่รวดเร็วทันสมัยรวมทั้งการปฏิรูปการศึกษาทำให้ประชาชนมีความรู้สูงขึ้นมีความต้องการและความคาดหวังต่อบริการสุขภาพสูงขึ้นผู้รับบริการเรียกร้องสิทธิ
ในการที่จะรับบริการสุขภาพที่ดี มีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นที่พึงพอใจเกิดความประทับใจในคุณภาพการบริการ พบว่าประชาชนที่มีปัญหาทางตาจากการสำรวจสภาวะตาบอดแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2527 โรคตาเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยคณะกรรมการป้องกันตาบอดและควบคุมสายตาพิการแห่งชาติ พบว่าต้อกระจก (Cataract) เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียสายตาถึงร้อยละ 74 นอกจากนี้เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์เกิดในผู้สูงอายุมาก ซึ่งสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดต้อกระจกประมาณร้อยละ 95 เกิดจากการเสื่อมตามวัยและพบสาเหตุที่ทำให้การเห็นลดลงประมาณร้อยละ15 เกิดจากต้อกระจกและร้อยละ 20 เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาและนอกนั้นยังพบจากสาเหตุอื่นๆ อีกประมาณ ร้อยละ 50 องค์การอนามัยโลก (1995) กล่าวว่าอุบัติการณ์ของต้อกระจกเพิ่มขึ้นตามอายุและคาดการณ์ ว่าประมาณร้อยละ 70 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไปมีโอกาสเป็นต้อกระจกทำให้ระดับสายตามัวลงจนรบกวนการประกอบกิจวัตรประจำวันส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรปัจจุบัน
โดยที่เภสัชกรเป็นบุคลากรหนึ่งที่เกี่ยวข้องในการป้องกันตาบอดและส่งเสริม สุขภาพตา จำเป็นต้องมีองค์ความรู้และสามารถค้นหาความผิดปกติในระยะแรกได้ เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นโรค ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและส่งต่อจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม ทันเวลา พร้อมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความตื่นตัวและตระหนักรู้ถึงปัญหาของตนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้เภสัชกร มีความรู้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันทันสมัยและมีคุณภาพเป็นประโยชน์กับวิชาชีพ ประชาชนและชุมชน
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มพูนความรู้วิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่ทันสมัย ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเภสัชกร และวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ตามลิงค์ http://www.pharm.tu.ac.th/rxtuconferrence61_4.php (รับจำนวน 50 คน) ฟรีค่าลงทะเบียน