การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาศักยภาพร้านยาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบ พื้นที่ เขต 10 (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร) ปี 2561
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาศักยภาพร้านยาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบ พื้นที่ เขต 10 (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร) ปี 2561
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-017-10-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุมไพโรจน์ทรัพยานนท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วันที่จัดการประชุม 19 ต.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรร้านยาในเขตพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร) และนักศึกษาเภสัชศาสตร์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ในปี ค.ศ.2008 มียอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 57 ล้านคน พบว่า 36 ล้านคน หรือ 63% เกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อ อันดับหนึ่ง คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังและโรคเบาหวาน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดมาจากพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป ประมาณ 80% ของยอดผู้เสียชีวิตของโรคไม่ติดต่อ
เภสัชกรร้านยา เป็นบุคคลากรสาธารณสุข ที่อยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด สามารถเข้าถึงได้ง่าย ถือเป็นหน่วยสุขภาพที่ตอบสนองต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง และสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วมากขึ้น และยังสามารถช่วยเฝ้าระวังและให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ ส่งผลให้สามารถลดอุบัติการณ์ของการเป็นโรคดังกล่าวได้ และกรณีผู้ป่วยที่ขาดการรักษาต่อเนื่อง เภสัชกรร้านยา ยังสามารถช่วยให้ความรู้ผู้ป่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการไปติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง เข้าถึงยาได้อย่างต่อเนื่อง ลดปัจจัยเสี่ยงจากการใช้ยา ลดอุบัติการณ์ของโรคแทรกซ้อน และลดการพึ่งพิงผู้อื่น อีกทั้งร้านยาสามารถเป็นอีกหนึ่งหน่วยที่มีส่วนช่วยปรับ ลดพฤติกรรมการใช้ยาสูบของคนในชุมชนอีกด้วย และจะเห็นว่าเภสัชกรร้านยาเป็นหน่วยสำคัญเป็นหน้าด่าน เป็นกำลังเสริม เป็นกำลังหนุน ที่สามารถทำให้การดูแลสุขภาพองค์รวมและครอบครัวเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเหตุนี้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน มีความตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทเภสัชกรดังกล่าว จึงจัดทำโครงการเภสัชกรประจำครอบครัวและการคัดกรองผู้ป่วยเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา และต่อเนื่องด้วย โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อเนื่องโดยร้านยาคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตสุขภาพที่ 10 ปี 2560 ซึ่งจะช่วยให้สร้างความตอกย้ำในบทบาทของเภสัชกรร้านยาให้เป็นเภสัชกรครอบครัวเพื่อให้บริการงานปฐมภูมิและทุติยภูมิ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพสืบเนื่องต่อไป ดังนั้นในปี 2561 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมกับมูลนิธิเภสัชกรรมชุมชนภายใต้โครงการเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบและสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) จึงจัดประชุม โครงการพัฒนาศักยภาพเภสัชกรชุมชนขึ้น เพื่อให้มีการสอดแทรกการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบไปในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

วัตถุประสงค์
- เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยให้แก่เภสัชกรร้านยา ในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการจัดการปัญหาความเสี่ยงต่อโรคและการควบคุมยาสูบ
- เพื่อเก็บข้อมูลการทำงานของร้านยาในกิจกรรมงานบริบาลชุมชนในร้านยา

คำสำคัญ