การประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ เรื่อง The 6th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2018: Role of pharmacist in antimicrobial resistance (AMR)
ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการ เรื่อง The 6th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2018: Role of pharmacist in antimicrobial resistance (AMR)
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-011-10-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องบอลรูม โรงแรมนารายณ์ สีลม กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 31 ต.ค. 2561 - 02 พ.ย. 2561
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล และเภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 20.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เนื่องจาการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางเภสัชบำบัดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การพัฒนาเภสัชกรจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างเหมาะสม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล และ กลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ (ประเทศไทย) ได้ตระหนักถึงความต้องการของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสาขาโรคติดเชื้อ ที่มุ่งหวังจะได้รับการอบรมทางเภสัชบำบัดอย่างต่อเนื่องและเฉพาะทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย จึงได้จัดงานประชุมวิชาการ เรื่อง The 6th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2018: Role of pharmacist in antimicrobial resistance (AMR) ขึ้น
การประชุมวิชาการกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ (ประเทศไทย) ประจำปี พ.ศ. 2561 นี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาและสนับสนุนให้เภสัชกรสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้และนำไปสู่การปฏิบัติงานจริงในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานที่ดี และเป็นที่ยอมรับต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการทบทวนและให้ความรู้ที่จำเป็นในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อในด้าน การวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การแปลผลความไวของเชื้อต่อยา การเลือกยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ การกำนดขนาดยาโดยอาศัยหลักการเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์ การติดตามผลการรักษา การเปลี่ยนชนิดยาหรือการเปลี่ยนเป็นยารับประทาน และการนำความรู้ข้างต้นสำหรับการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยผ่านการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (case-based learning)
2. เพื่อให้แนวทางในการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อโดยนำความรู้ข้างต้นสำหรับการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยผ่านการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (case-based learning) ได้แก่ ผู้ป่วยพิษเหตุติดเชื้อ โรคติดเชื้อจากสายสวนหลอดเลือด การติดเชื้อผิวหนังและเยื่อบุอ่อน การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อช่องท้อง และการติดเชื้อในผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท
3. เพื่อสนับสนุนให้เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำองค์ความรู้ และทักษะการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในการดูแลรักษาผู้ป่วย และการป้องกันโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
SOPITT ,NCARO , การดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ, ยาต้านจุลชีพ