การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง ความก้าวหน้าด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และแนวปฏิบัติด้านเภสัชบำบัดของยาชีววัตถุ ครั้งที่ 2
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง ความก้าวหน้าด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และแนวปฏิบัติด้านเภสัชบำบัดของยาชีววัตถุ ครั้งที่ 2
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-031-06-2561
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุม 302 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 21 -22 มิ.ย. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชบำบัดกลุ่มชีววัตถุ และบุคลากรทางการแพทย์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 13 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ยาชีววัตถุ (biological products) เป็นยาที่ผลิตขึ้นโดยใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิต เช่นพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หรือ รีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอเทคโนโลยี (recombinant DNA technology) ไฮบริโดมาเทคโนโลยี (hybridoma technology) เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการรักษาโรคในปัจจุบัน เช่น โรคมะเร็ง (cancer) เบาหวาน (diabetes mellitus) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) การปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation) เป็นต้น แนวโน้มในอนาคตอัตราการเติบโตด้านการตลาดของยาชีววัตถุจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 2 เท่าของยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี (ยาเคมี) หรือเรียกว่ายาที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก (small molecule drugs) เนื่องจากปัจจุบันองค์ความรู้ทางด้านการรักษาเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นทางด้านพันธุกรรม (genetic) หรือภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) ทำให้มีการคิดค้นยาให้ตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นประมาณร้อยละ 50 ของยาที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาจัดเป็นยาชีววัตถุ และมียาชีววัตถุที่อยู่ระหว่างรอขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ท้องตลาดอีกมาก ตัวอย่างเช่นในโรคมะเร็งมียาชีววัตถุที่อยู่ระหว่างพิจารณาโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาในปี 2018-2021 ประมาณ 81 รายการ คาดการณ์ว่าตลาดของยาชีววัตถุทั้งหมดทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ.2020 นอกจากนี้การเริ่มหมดสิทธิบัตรของยาชีววัตถุต้นแบบ (originator/innovator products) รุ่นแรกๆ จะส่งผลให้ในอนาคตอันใกล้จะมียาที่ผลิตเลียนแบบยาชีววัตถุต้นแบบ เรียกว่า ไบโอซิมิลาร์หรือยาชีววัตถุคล้ายคลึง (biosimilars) เริ่มเข้ามามีบทบาทที่เป็นทางเลือกของการรักษา
เภสัชกรโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยาชีววัตถุ แต่ยังขาดองค์ความรู้ด้านการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาชีววัตถุ และขาดแนวปฏิบัติในการคัดเลือกและพิจารณายาชีววัตถุต้นแบบและยาชีววัตถุคล้ายคลึง ซึ่งเภสัชกรต้องการข้อมูลเพิ่มเติมผ่านการประชุมวิชาการเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง การประชุมวิชาการครั้งนี้จึงมีขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ในการดูแลการใช้ยาได้มีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าด้านยาชีววัตถุ และมีความเข้าใจในบทบาททั้งในด้านการคัดเลือก เก็บรักษา กระจายยา และให้คําแนะนํากับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยในการใช้ยาอย่างเหมาะสมให้ได้ประโยชน์สูงสุด และป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดจากการใช้ยาชีววัตถุ รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ใหม่ในหลักการของภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) สำหรับโรคมะเร็ง
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้เภสัชกรผู้มีหน้าที่ในการดูแลการใช้ยาได้มีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้า มีความเข้าใจในบทบาททั้งในด้านการคัดเลือก และให้คําแนะนําเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของเภสัชบำบัดกลุ่มชีววัตถุและยาชีววัตถุคล้ายคลึงกับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยในการใช้ยาอย่างเหมาะสม
2. เพิ่มพูนความรู้ทางด้านเภสัชบำบัดของยาชีววัตถุในโรคต่างๆ รวมถึงภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ในโรคมะเร็ง
3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดแนวทางที่จะนำไปสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
4. เพื่อเป็นการเผยแพร่งานบริการวิชาการหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องแก่เภสัชกร
คำสำคัญ
ยาชีววัตถุ, Biosimilar, Monoclonal Antibody, Immunotherapy
วิธีสมัครการประชุม
การลงทะเบียน ค่าสมัครเข้าร่วมประชุมคนละ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) ซึ่งครอบคลุมค่าเอกสารประกอบการประชุม ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่าง การสมัครและการชำระเงิน ทำได้ 2 วิธี • สมัครด้วยตนเองพร้อมชำระเป็นเงินสด ที่งานคลังและพัสดุ ชั้น 1 อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ • สมัคร on line ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan ใบ pay in โอนเงินชำระค่าลงทะเบียนโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-456398-9 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการเภสัชวิทยา หรือ ส่งทางโทรสาร (Fax) ใบนำฝากของธนาคาร (pay in หรือสลิป ATM) มายังโทรสาร 02-644-4536 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ โทรศัพท์/โทรสาร 02-6444536 Email: ratree.pap@mahidol.ac.th หรือ ภาควิชาเภสัชวิทยา โทรศัพท์/โทรสาร 02-6448700