การประชุมวิชาการ
โครงการการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นทางสุขภาพสำหรับผู้เริ่มต้น (Development of Health Mobile Applications for Beginners) รุ่นที่ 1: 23-25 พฤษภาคม 2561
ชื่อการประชุม โครงการการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นทางสุขภาพสำหรับผู้เริ่มต้น (Development of Health Mobile Applications for Beginners) รุ่นที่ 1: 23-25 พฤษภาคม 2561
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-020-05-2561
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่จัดการประชุม 23 -25 พ.ค. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร บุคคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป 60 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทยด้วยนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี โดย Roadmap การพัฒนานวัตกรรมกลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตั้งเป้าหมายการพัฒนาผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ของ Asean ในปี 2568 ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มกลุ่มสาธารณสุข สุขภาพต้องมีการปรับตัวเพิ่มพูนทักษะทางด้านเทคโนโลยี ทั้งการเรียนรู้ ใช้งานรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น
Mobile application คือโปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบรองรับการใช้งานบน Smart device เช่น Smart phone หรือ Tablet เป็นต้น เพื่อเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานด้านต่างๆ รวมถึงทางด้านสาธารณสุข สุขภาพ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันจะเห็นว่าหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขได้เริ่มมีการพัฒนา Mobile application เพื่อใช้งานในหน่วยงาน เช่น application ที่ให้ความรู้เรื่องโรคและยาต่างๆ application ที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้ป่วยต่างชาติใน Asean application ลดการรอคิวนานในโรงพยาบาล หรือ application นัดหมาย เลื่อนนัดพบแพทย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ในการพัฒนา Mobile application นั้นผู้ที่สามารถพัฒนาได้จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรม แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ทำให้การพัฒนา Mobile application สะดวกขึ้น ทำให้ผู้ที่ไม่มีความรู้และทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมสามารถ Mobile application ได้ด้วยตนเอง
การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะเน้นให้ผู้เข้าอบรมที่ไม่มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางด้านการเขียนโปรแกรม สามารถพัฒนา Mobile application เบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เข้าหลักการในการพัฒนา application ปูทักษะพื้นฐานทางด้านการเขียนโปรแกรม รู้จักการออกแบบหน้าแอพพลิเคชั่น (UI) การควบคุมการทำงานของแอพพลิเคชั่น ด้วย AppInventor ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างแอพพลิเคชันสำหรับ Smart phone หรือ Tablet ที่เป็นระบบปฏิบัติการ Android
วัตถุประสงค์
1 สร้างบุคคลากรที่มีความรู้ในหลักการในการพัฒนา Mobile application
2 สร้างบุคคลากรที่มีทักษะในการพัฒนา Mobile application เบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้ในงานประจำได้
คำสำคัญ
Health mobile applications, Android, App Inventor
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อสอบถามรายละเอียดการสมัคร หน่วยเครือข่ายเภสัชสนเทศ “ประชานาถ” คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000 (คุณกัลยา อรวิเชียร) โทรศัพท์: 08-9918-392