การประชุมวิชาการ
“Approach for Nociceptive and Neuropathic Pain Management in Drug Store” และ “Practical approaches to managing GERD and Constipation in Drug Store”
ชื่อการประชุม “Approach for Nociceptive and Neuropathic Pain Management in Drug Store” และ “Practical approaches to managing GERD and Constipation in Drug Store”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-2-000-003-02-2561
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องดุสิตธานีฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 11 ก.พ. 2561
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กลุ่มเป้าหมาย 100-150
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ร้านขายยาเปรียบเสมือนที่พึ่งด้านสุขภาพของชุมชน เพราะมีหลายรายงานที่ระบุว่า ประชาชนเมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อยๆ หรือ ปัญหาสุขภาพเบื้องต้น จะไปปรึกษาปัญหาเหล่านั้นที่ร้านขายยา เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพ การใช้ยาอย่างเหมาะสม การปฏิบัติดูแลตนเอง และหรือการส่งต่อให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
ในบรรดาปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยๆ นั้น อาการปวด เช่น Nociceptive Pain, Neuropathic Pain, ปวดปลายประสาทอักเสบ การใช้ NSAIDs ฯลฯ และโรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกรดไหลย้อน อาการแสบร้อนยอดอก เรอเปรี้ยว ท้องผูกเรื้อรัง การใช้ไฟเบอร์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นหลักที่ผู้รับบริการนามาปรึกษา ณ ร้านขายยาในชุมชน
ดังนั้นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ด้วยการสนับสนุนของบริษัท เบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี้ จากัด จึงจัดการประชุมวิชาการ Stand Alone BKK เรื่อง “Approach for Nociceptive and Neuropathic Pain Management in Drug Store” และ “Practical approaches to managing GERD and Constipation in Drug Store” ใน วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องดุสิตธานีฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มพูนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการปวด และโรคของระบบทางเดินอาหาร ในแง่มุมต่าง ๆ ให้กับผู้ให้บริการได้มีความเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าว เพื่อให้คาปรึกษา แนะนาการใช้ยา การปฏิบัติตัว และให้การดูแลรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย ตลอดจนตระหนักถึงสัญญาณอันตรายสาคัญที่มีความจาเป็นต้องส่งต่อถึงแพทย์
วัตถุประสงค์
1. ได้ทราบถึงการแบ่งประเภทความปวด Nociceptive และ Neuropathic ตลอดจนถึงการรักษาโดยการใช้ยาและให้คาแนะนาในการปฏิบัติตัวเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่เหมาะสมได้
2. ได้ทราบถึงสาเหตุ อาการ ของโรคกรดไหลย้อน/โรคท้องผูก ตลอดจนการดูแลรักษาเบื้องต้นสาหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกรดไหลย้อน/โรคท้องผูก
3. มีความเข้าใจถึงสัญญาณอันตรายสาคัญของอาการปวด/โรคกรดไหลย้อน/โรคท้องผูกที่มีความจาเป็นต้องส่งต่อถึงแพทย์
คำสำคัญ
อาการปวด, Nociceptive Pain, Neuropathic Pain, ปวดปลายประสาทอักเสบ, NSAIDs โรคกรดไหลย้อน, แสบร้อนยอดอก, เรอเปรี้ยว, อาการท้องผูกเรื้อรัง, ไฟเบอร์