การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการทางเภสัชกรรม เรื่อง การจัดการเชิงกลยุทธ์ทางเภสัชกรรม ๔.๐ (Strategic Pharmacy Management ๔.๐)
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการทางเภสัชกรรม เรื่อง การจัดการเชิงกลยุทธ์ทางเภสัชกรรม ๔.๐ (Strategic Pharmacy Management ๔.๐)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-029-12-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัส แวนด้าแกรนด์ นนทบุรี
วันที่จัดการประชุม 18 -22 ธ.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย ๑. เภสัชกร ผู้สนใจ และศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน ๘๐คน ๒. คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน ๑๑ คน ๓.นักศึกษาร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 33.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การเพิ่มความสามารถในการจัดการทางเภสัชกรรมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารด้านเภสัชกรรมจำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรและขีดความสามารถในองค์กรให้สามารถสร้างและคงไว้ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องได้ โดยเนื้อหาของการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางเภสัชกรรม ๔.๐จะศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ประโยชน์แนวคิด ทฤษฎีวิธีการและเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการการวางแผนและการควบคุม รวมถึงการกำหนดกลยุทธ์ ระดับของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร การกำหนดภารกิจขององค์กร ขั้นตอนในการทำแผนกลยุทธ์ ทางเลือกขององค์กรการบริหารและการประเมินกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสภาวะการที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งของรัฐ ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการจัดทำหลักสูตรร่วมระดับปริญญาโททางเภสัชศาสตร์สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม โดยเป็นการศึกษาที่มีการบริหารจัดการในระบบชุดวิชา (Module System)
วัตถุประสงค์
๑. พัฒนาและเข้าใจถึงวิธีการคิดอย่างมีระบบเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ทางเภสัชกรรม ๔.๐
๒. พัฒนาการรับรู้และทราบถึงโอกาสของการนำเครื่องมือการบริหารยุคใหม่มาปรับใช้กับการบริหารงานเภสัชกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
๓. รับทราบถึงความซับซ้อนของเชิงกลยุทธ์ทางเภสัชกรรมที่เกิดขึ้นในองค์กรบริการ
๔. เข้าใจถึง ๔ มิติของ Balance Scorecard (BSC) ที่นำมาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
๕. เรียนรู้จากกรณีศึกษาขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
คำสำคัญ
Strategic Pharmacy Management ๔.๐, Strategic management
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อสอบถามรายละเอียดการสมัคร คุณกัลยา อรวิเชียร งานบริการวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ /โทรสาร๐-๓๔๒๔-๔๔๖๓ , ๐๘๙-๙๑๘๓๙๒๑