การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง Holistic Approaches to Pain Management
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง Holistic Approaches to Pain Management
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-051-11-2560
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 26 พ.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล และเภสัชกรชุมชน (ร้านยา) บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ความปวด (pain) ถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 (The fifth vital sign) และเป็นปรากฎการณ์ที่ผสมผสานทั้งด้านชีว-จิต-สังคม จึงควรได้รับการประเมินอย่างสม่ำเสมอ และบันทึกไว้ทั้งในเชิงปริมาณและผลกระทบต่อกิจกรรมในการดำเนินชีวิต ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหรือบุคลากรทางการแพทย์จึงควรพิจารณาปัจจัยทางจิตและอารมณ์ของผู้ป่วยร่วมด้วยเสมอในการจัดการความปวดนอกเหนือจากการประเมินทางกายและทางพยาธิสภาพ เพื่อให้การรักษาครอบคลุมทุกแง่มุมของความปวด และผู้ป่วยได้รับการจัดการความปวดที่เพียงพอ ซึ่งการจัดการความปวดนั้นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรต่างสาขาและอาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพเหล่านี้ควรสามารถจำแนกและจัดการความปวดต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น acute post-traumatic pain, acute postoperative pain, cancer pain, neuropathic pain, chronic pain บางชนิด นอกจากนี้การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาความปวดจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามความรู้ที่ทันสมัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมทั้ง Pharmacological treatment และ Non-pharmacological treatment เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย และการเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรให้มีสมรรถนะในการให้การบริบาลด้านการจัดการความปวดชนิดต่างๆ แก่ผู้ป่วยที่มีคุณภาพ ย่อมส่งผลเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในภาพรวม ดังนั้นภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ และภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง จึงได้จัดการประชุมวิชาการเรื่อง Holistic Approaches to Pain Management ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้เกี่ยวกับความปวด ชนิดของความปวด และการจัดการความปวดต่างๆ โดยเน้นความปวดซึ่งพบบ่อยหรือเป็นปัญหามากในปัจจุบัน และสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาความปวดในประเทศไทยร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะในการจัดการด้านความปวดชนิดต่างๆ ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม
2. เพื่อให้ผู้เข้าประชุมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมด้านการจัดการความปวดแก่ผู้ป่วยได้ต่อไป
คำสำคัญ