การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา (The 1st CICM International Conference \"Translational Research: From Bench to Bedside\")
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา (The 1st CICM International Conference \"Translational Research: From Bench to Bedside\")
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-2-000-019-07-2560
สถานที่จัดการประชุม อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
วันที่จัดการประชุม 28 -29 ส.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลุ่มเป้าหมาย นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาขาที่เกี่ยวข้อง
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Chulabhorn International College of Medicine : Thammasat University) ได้รับพระราชทานพระอนุญาตให้จัดประชุมวิชาการนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคม 2560
โดยที่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ในสังกัดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 21 ของประเทศไทย และเป็นสถาบันแพทยศาสตร์หลักสูตรนานาชาติแห่งแรกในประเทศไทย โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เพื่อรองรับการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศเป็นหลักในการจัดการศึกษา ปัจจุบันวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณณิตศึกษา รวมทั้งสิ้น 13 หลักสูตร ดังนี้ คือ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรทวิภาษา) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคลินิก (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรแพทย์แผนจีนบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการแพทย์บูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรตจวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพฤฒาวิทยาสังคม (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอายุรวัฒน์ (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) และในปีการศึกษา 2561 จะเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตรคือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาตจวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) ในปัจจุบันวิทยาลัยมีบุคลากรสายวิชาการในระดับปริญญาเอก และแพทยศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลอย่างเพียงพอจำนวนทั้งสิ้น 59 คน
นอกจากความก้าวหน้าทางด้านวิชาการในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ในสาขาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาในระยะเวลาเกือบ 5 ปีผ่านมาแล้ว วิทยาลัยฯ ยังส่งเสริมการวิจัยเพื่อมุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยของประเทศให้ก้าวสู่ความเป็นสากล สอดคล้องกับการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ วิทยาลัยฯ มีอาจารย์และนักวิจัยที่มีศักยภาพในการผลิตผลงานวิจัยทั้งงานวิจัยพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ จุดเด่นของวิทยาลัยฯ คือการเป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงการวิจัย รวมทั้งมีความร่วมมือระหว่างนักวิจัยทั้งสองส่วนนี้ได้เป็นอย่างดียิ่ง (Translational research) เพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุขได้จริงอย่างครบวงจร ทั้งด้านการป้องกัน การควบคุม การวินิจฉัย และการรักษาโรค โดยมีความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนและวิจัยกับสถาบันในประเทศและต่างประเทศ มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ บริษัทแพนราชเทวี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) Queens Mary University of London (ประเทศสหราชอาณาจักร), King’s College London, London South Bank University (ประเทศสหราชอาณาจักร) North Essex Partnership NHS Foundation Trust (NEPFT) (ประเทศสหราชอาณาจักร) Griffith University (ประเทศออสเตรเย) University of California, Los Angeles (ประเทศสหรัฐอเมริกา) University of Alberta (ประเทศแคนาดา) Nagasaki University (ประเทศญี่ปุ่น) Beijing University of Chinese Medicine (ประเทศจีน) Deemed University (ประเทศอินเดีย) Genesis Institute of International Education (ประเทศอินเดีย) Middle East University (ประเทศสหรัฐอารับเอมิเรตส์) และ Singapore Service (ประเทศสิงคโปร์)
การจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นการจัดประชุมวิชาการครั้งแรกของวิทยาลัยและเป็นการประชุมระดับนานาชาติ เป็นการจัดประชุมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา และจะเป็นการเปิดที่ทำการถาวรของวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีวัตถุประสงค์ให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาของวิทยาลัยฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย และประเทศที่มีความรว่มมือด้านการเรียนการสอนและการวิจัยกับวิทยาลัยฯ ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของนักวิจัย ยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ เผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายวิจัยของนักวิจัยทั้งภายในและต่างประเทศ โดยหัวข้อการประชุมคือ “Translational Research: From Bench to Bedside” ซึ่งจะนำเสนอความก้าวหน้าทางวิชาการและวิจัยในเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจ และมีศักยภาพในการนำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์หรือต่อยอดการวิจัย โดยมีนักวิจัยไทยและต่างประเทศชั้นนำประมาณ 500 คน นอกจากการบรรยายทางวิชาการแล้ว ยังมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจาและโปสเตอร์ รวมทั้งการพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำด้านการวิจัยเฉพาะทาง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
2. เพื่อให้นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการในสาขาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนแนวความคิดและประสบการณ์ทางวิชาการระหว่างศาสตราจารย์และนักวิจัยใหม่ในสาขาเฉพาะ
3. เพื่อเปิดเวทีเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัยในระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ของนักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. เพื่อกระตุ้นและสิ่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยในการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการงานวิจัย
5. เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายงานวิชาการและงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ กับสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
คำสำคัญ
Translational Research: From Bench to Bedside
วิธีสมัครการประชุม
วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต