การประชุมวิชาการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์ทางภูมิคุ้มกันวิทยา: เทคโนโลยีใหม่เพื่อการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอย่างรวดเร็ว “Immunoassay: Novel Technology for Rapid Analysis of Natural Products”
ชื่อการประชุม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวิเคราะห์ทางภูมิคุ้มกันวิทยา: เทคโนโลยีใหม่เพื่อการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติอย่างรวดเร็ว “Immunoassay: Novel Technology for Rapid Analysis of Natural Products”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-043-08-2560
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่จัดการประชุม 28 -30 ส.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย 1. อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2. นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3. นักวิจัยท
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีการใช้สมุนไพรโดยแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านมายาวนาน นอกจากนี้กระแสความนิยมสุขภาพที่มีสูงขึ้น กอบกับการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยในประเทศ ประชาชนจึงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย หลากหลายรูปแบบ แต่สมุนไพรกลับไม่ได้รับการยอมรับจากแพทย์แผนปัจจุบันในการสั่งจ่ายให้คนไข้มากนัก ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการไม่มั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่าย หากดูจากกระบวนการผลิตหรือเอกสารที่กำกับผลิตภัณฑ์ ไม่มีการบ่งชี้ยืนยันถึงคุณภาพที่น่าเชื่อถือ ในขณะที่ประชาชนก็ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานสมุนไพรที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังพบปัญหาการใช้วัตถุดิบสมุนไพรที่ไม่มีถูกต้องหรือด้อยคุณภาพกว่ามาแทนสมุนไพรที่มีคุณภาพดีแต่ราคาแพง ประเด็นปัญหาเรื่องมาตรฐานสมุนไพรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการใช้สมุนไพรอย่างมั่นใจทั้งในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย
การตรวจสอบคุณภาพของสมุนไพรทำได้หลายวิธีด้วยกัน โดยทั่วไปตามหัวข้อที่กำหนดไว้ใน Thai Herbal Pharmacopoeia จะมีส่วนของการตรวจสอบเอกลักษณ์เครื่องยาทั้งจากลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน และมีการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีในรูปแบบ chemical profile ซึ่งจะใช้วิธีพื้นฐานที่ไม่ได้ซับซ้อน แต่มีความไวในการตรวจและความแม่นยำค่อนข้างต่ำ ต่อมามีการตรวจวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพรด้วยวิธีทางโครมาโตกราฟีที่มีความแม่นยำที่สูงขึ้น หากแต่ต้องอาศัยเครื่องมือขนาดใหญ่และใช้เวลาตรวจสอบนานต่อหนึ่งครั้งของการตรวจสอบ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาวิธีการตรวจสอบทางเคมีด้วยเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความไวและความแม่นยำที่สูง คือ การใช้วิธีการทางภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่จะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่จะถูกนำมาใช้ในงานตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์มากขึ้น
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Immunoassay: Novel Technology for Rapid Analysis” จะมีการนำเสนอทั้งในแง่ทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อการตรวจสอบสารสำคัญในพืชสมุนไพร ที่สามารถพัฒนาต่อยอดในการผลิตชุดตรวจสอบสารในอนาคตได้ (Natural product detection kit) โดยมีวิทยากรที่เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นที่ทำวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจสอบด้วยเทคนิคนี้มาอย่างยาวนาน ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติจากการอบรมครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทบทวนความรู้ และเพิ่มพูนความรู้ในด้านงานวิเคราะห์สมุนไพรด้วยเทคโนโลยีใหม่
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้พื้นฐานในการนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานด้านวิเคราะห์ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 หรือ E-mail: CE@Pharm.chula.ac.th โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้ - การประชุมแบบบรรยาย ท่านละ 2,000 บาท - การประชุมแบบบรรยายและปฏิบัติการ ท่านละ 5,000 บาท