การประชุมวิชาการ
การประยุกต์ใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม
ชื่อการประชุม การประยุกต์ใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-2-000-009-08-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้อง 2-221 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
วันที่จัดการประชุม 05 ส.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรประจําแหล่งฝึกงานและคณาจารย์ จํานวน 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในสถานการปัจจุบันการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อกําจัดเชื้อก่อโรคในผู้ป่วยมีความซับซ้อน และอาจก่อให้ เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้มากขึ้นประกอบกับการพัฒนายาตัวใหม่ๆเพื่อกําจัดเชื้อก่อโรคมีจํานวนไม่มากและ ไม่ทันกับสถานการเชื้อดื้อยาในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ประกาศเชื้อที่ต้องเฝ้าระวัง ควบคุม เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน เช่น เชื้อ ดื้อยาก่อโรคในชุมชน Drug resistant Streptococcus pneumoniae, Fluoroquinolone-resistant Neisseria gonorrhoeae, Helicobacter pylori resistant clarithromycin ฯลฯ เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล ที่ต้องมีการใช้ยาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น Enterobacteriaceae ESBL producing, multidruges resistant Pseudomonas aeruginosa, multidrugea resistant Acinetobacter baumanii ฯลฯ ในส่วนของ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยมีโครงการรณรงค์ต่างๆ ข้อกําหนดชี้วัดของโรงพยาบาลในแต่ละระดับให้ ควบคุมเชื้อดื้อยาอยู่ในวงจํากัด เช่น โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย Thailand Antimicrobial Resistance (AMR) Containment and Prevention Program จากสถานการณ์ ที่กล่าวมาข้างต้นบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนสามารถร่มแรงร่วมใจกันควบคุมการดื้อยาของเชื้อ จุลชีพได้ ตั้งแต่การให้ความรู้ในความจําเป็นที่จะใช้ยาต้านจุลชีพและการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่าง เหมาะสม
ในส่วนของการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมประกอบกันในหลายๆส่วน ได้แก่ รายงานสถานการณ์ การดื้อยาของเชื้อจุลชีพต่อยาแต่ละชนิด ของศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาประเทศไทย (National Antimicrobial Resistant Surveillance, Thailand :NARST), antibiogram ของแต่ละโรงพยาบาล การประยุกต์ใช้ผลทาง ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน The Clinical & Laboratory Standards Institute (CLSI) ซึ่งจะทําให้การใช้ ยามีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการสัมผัสยาที่ไม่มีประสิทธิภาพของเชื้อก่อโรค ทําให้ลดการพัฒนาการดื้อยาของ เชื้อจุล การประยุกต์ใช้เภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์(pharmacokinetic/pharmacodynamic) การ กําหนดขนาดยาที่เหมาะสมต่อ MIC ของเชื้อดื้อยา การกําหนดระยะเวลาในการใช้ยา (dosing interval administration), half way’s rule concept, การปรับขนาดยาในผู้ป่วยไตวายระยะต่างๆ จากองค์ความรู้ ในประเด็จเหล่านี้เพื่อการทํางานให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขกําหนด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้คณะเภสัชศาสตร์มีแหล่งฝึกเป็นไปตามมาตรฐานของสภาเภสัชกรรม 2. เพื่อให้การฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. เพื่อให้การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม
4. เพื่อให้เกิดความร่วมมืออันดีกับแหล่งฝึกฯ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนได้ที่ https://is.gd/Lunh4r