การประชุมวิชาการ
Current topics of bioequivalence studies of generic drugs in humans and biosimilars (หัวข้อปัจจุบันของการศึกษาชีวสมมูลของยาสามัญใหม่ในมนุษย์และยาชีววัตถุคล้ายคลึง)
ชื่อการประชุม Current topics of bioequivalence studies of generic drugs in humans and biosimilars (หัวข้อปัจจุบันของการศึกษาชีวสมมูลของยาสามัญใหม่ในมนุษย์และยาชีววัตถุคล้ายคลึง)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-016-08-2560
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันที่จัดการประชุม 05 ส.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลทั่วประเทศ จำนวน ๖๐ คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการขึ้นทะเบียนยาสามัญใหม่ที่จัดอยู่ในประเภท BCS class 2 และ 4 นั้น ผู้ผลิตจำเป็นต้องยื่นข้อมูลการศึกษาชีวสมมูลในมนุษย์แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอขึ้นทะเบียนตำรับยา ซึ่งมีขั้นตอนและมีการเตรียมเอกสารประกอบรายงานการทดสอบชีวสมมูลในมนุษย์เพื่อยื่นแก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย่างไรก็ตามแม้โรงงานผู้ผลิตยาจะมีการทดสอบการละลายของตัวยาสำคัญมาก่อนแต่ก็มีบางตำรับที่เมื่อศึกษาชีวสมมูลในมนุษย์แล้วกลับไม่ผ่านการทดสอบเมื่อเทียบกับยาต้นแบบ ทำให้โรงงานผลิตยามีค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัจจุบันให้แก่เภสัชกรจากภาคส่วนเภสัชอุสาหกรรมและภาคส่วนอื่นที่มีความสนใจเกี่ยวกับการทดสอบชีวสมมูลในมนุษย์
และในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้มีการพัฒนายาชีววัตถุ (Biological product) เช่น insulin erythropoietin และ monoclonal antibody เป็นต้น มาใช้ในการรักษาโรค เช่น เบาหวาน โรคไต โรคทางภูมิคุ้มกัน และโรคมะเร็ง ซึ่งเมื่อยาชีววัตถุต้นแบบได้หมดสิทธิบัตรลง จึงมีการผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง (Biosimilars) ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่าราคาของผลิตภัณฑ์ชีววัตถุคล้ายคลึงย่อมมีราคาต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (innovator) เนื่องจากไม่มีต้นทุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้าถึงยาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ คือการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อพิจารณาว่ายาชีววัตถุคล้ายคลึงมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือไม่ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จึงควรมีความรู้ที่เป็นปัจจุบันเพื่อช่วยในการพิจารณาและตัดสินใจเลือกใช้ยาชีววัตถุคล้ายคลึง รวมไปถึงการพิจาณาเพื่อนำยาดังกล่าวเข้าโรงพยาบาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการประชุมเพื่อเผยแพร่ความรู้ในด้านการศึกษาชีวสมมูลในมนุษย์และยาชีววัตถุคล้ายคลึงให้แก่เภสัชกรและผู้สนใจ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เภสัชกรและผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทดสอบชีวสมมูลของยาสามัญใหม่ในมนุษย์
2.เพื่อให้เภสัชกรและผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาชีววัตถุคล้ายคลึง
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
สนใจเข้าร่วมประชุมลงทะเบียนได้ที่ https://goo.gl/8cvm3i