การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์ธรรมชาติครั้งที่ 1: จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์ธรรมชาติครั้งที่ 1: จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-008-08-2560
สถานที่จัดการประชุม The Sukosol Hotel, Bangkok,Thailand
วันที่จัดการประชุม 05 -06 ส.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม สำนักงานส่งเริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั้งจากในและต่างประเทศ จำนวน 100 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 8.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพที่มีความหลากหลายตามชาติพันธุ์ เป็นศาสตร์และที่ได้จากการสังเกต การทดลองใช้ และสืบทอดความรู้กันมาจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกรุ่นหลานอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นรากฐานการดูแลสุขภาพด้วย ตนเองที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ การแพทย์พื้นบ้าน เป็นองค์ความรู้การดูแลสุขภาพในชุมชนแบบดั้งเดิมที่สอดแทรกในวิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนโดยใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยไม่ได้พัฒนาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์แผนปัจจุบัน สำหรับแนวทางการรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยใช้การแพทย์พื้นบ้านหรือการแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่งคือ การดูแลสุขภาพด้วยวิธีทางธรรมชาติ หรือ Natural Medicine เป็นการดูแลสุขภาพด้วยวิธีทางธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ การใช้สมุนไพร ดีท็อกซ์ อโรมาเธอราปี โฮมีโอพาธี โยคะ สปา การนวด การฝังเข็ม ชี่กง สมาธิ และการรับประทานอาหารตามแนวทางธรรมชาติ และอาหารที่ปลอดสารเคมีปนเปื้อน
ปัจจุบันทั่วโลกนิยมใช้การดูแลสุขภาพด้วยวิธีธรรมชาติในดูแลสุขภาพมากขึ้นในแง่ป้องกันการเจ็บป่วย ประกอบกับองค์การอนามัยโลกได้มีการแนะนําให้ใช้การแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือกทั้งสองแผนคู่ขนานกันไปในการรักษาทางการแพทย์ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ทั่วโลกได้ส่งเสริมให้มีการแพทย์ดั้งเดิมของแต่ละประเทศที่มีการสนับสนุนเชิงนโยบายจากรัฐ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง จึงเหมาะสำหรับเป็นทางเลือกของประชาชน ในพัฒนา Natural Medicine ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันรักษาโรค ปัจจุบันได้มีการใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาพัฒนาการแพทย์แขนงนี้ผ่านงานวิจัยหลายสาขาทั่วโลก ทำให้เกิดการอธิบายโดยมีข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์รองรับอย่างเป็นเหตุเป็นผล ดังนั้น โครงการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์ธรรมชาติครั้งที่ 1: จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ (The 1st International Conference on Natural Medicine: From Local Wisdom to International Research) จึงจัดขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นด้านงานวิจัยของนักวิจัยที่ศึกษาด้าน Natural Medicine ที่ครอบคลุมสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้ Pharmacognosy, Nutrition and functional foods, Pharmaceutical Biotechnology, Pharmacology and Toxicology, Cosmetic Sciences and Technology, Clinical and Administrative Pharmacy, Complementary and Alternative Medicines, Natural Drug Discovery and Chemistry, Standardization and Quality of Natural Product โดยงานประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้มีคณะกรรมการดำเนินงานร่วม คือ สำนักงานวิจัยฯ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ Institute of Natural Medicine, University of Toyama, Japan โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การบรรยายพิเศษ (keynote speaker) 2. การบรรยายบทความรับเชิญ (invited speaker) 3 การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (oral presentation) 4. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (poster presentation) 5. การตีพิมพ์ผลงานในรายงานสืบเนื่องทางวิชาการ (Proceedings) โดยผลงานฉบับเต็มจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ให้อยู่ในกลุ่มที่ 1
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ และแลกเปลี่ยนความรู้ของอาจารย์ นักวิจัย และ ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม
คำสำคัญ