การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการบูรณาการภูมิปัญญาด้านการเภสัชกรรมแผนไทย “การควบคุมคุณภาพสมุนไพร” เรื่อง เทคนิคทางจุลทรรศน์ในการตรวจชนิดเครื่องยาสมุนไพรในบัญชียาจากสมุนไพร และสารบ่งชี้กับการควบคุมคุณภาพของเครื่องยาสมุนไพรในบัญชียาจากสมุนไพร
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการบูรณาการภูมิปัญญาด้านการเภสัชกรรมแผนไทย “การควบคุมคุณภาพสมุนไพร” เรื่อง เทคนิคทางจุลทรรศน์ในการตรวจชนิดเครื่องยาสมุนไพรในบัญชียาจากสมุนไพร และสารบ่งชี้กับการควบคุมคุณภาพของเครื่องยาสมุนไพรในบัญชียาจากสมุนไพร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-037-07-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม 2323 ชั้น 3 อาคาร 2 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 27 -28 ก.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร ศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้ที่สนใจ จำนวน 40 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีตำรับยาสมุนไพรหลายตำรับที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ในการใช้ที่ชัดเจน มีการใช้จากรุ่นสู่รุ่นและมีความปลอดภัย สามารถนำพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณ หรือปรับรูปแบบการใช้ให้ทันสมัยขึ้น แต่การที่จะพัฒนาต่อยอดได้นั้น ทั้งวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูปแล้วจะต้องมีการควบคุมคุณภาพแบบครบวงจร เริ่มจากการระบุลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง เมื่อมั่นใจความถูกต้องของการเลือกวัตถุดิบแล้วต้องมีการจัดทำมาตรฐานของวัตถุดิบซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีฟิสิกส์ของเครื่องยาเดี่ยวและยาตำรับตามข้อกำหนดของตำรามาตรฐานยาสมุนไพร ไทย (Thai herbal pharmacopeia) นอกจากนี้แนวทางของ The ASEAN harmonization ในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิจารณา การยืนยันความถูกต้องของวัตถุดิบเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นแรกในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพร เพราะถ้าเก็บสมุนไพรผิดต้น หรือมีการปนเปื้อนกับสมุนไพรอื่น จะทำให้ตำรับสมุนไพรที่เตรียมไม่ได้มาตรฐานและทำมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาโรค
ตำรา มาตรฐาน ยา สมุนไพร ไทยได้กำหนดขั้นตอนตรวจสอบลักษณะสมุนไพร ได้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจเอกลักษณ์สมุนไพร ประกอบด้วย การบรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยา การบรรยาย กลิ่น สีและรสของสมุนไพร การบรรยายลักษณะของสมุนไพรที่เห็นด้วยตาเปล่าหรือแว่นขยาย (macroscopical characters) การบรรยายลักษณะของเนื้อเยื่อที่สังเกตุจากกล้องจุลทรรศน์ (microscopical characters) หลังจากสมุนไพรมีการบดผสมและนำไปเตรียมเป็นสารสกัดแล้ว จะต้องมีการจัดทำมาตรฐานและระบุสารสำคัญ (markers) อย่างน้อย 1 ตัว ในตำรับ การจัดทำมาตรฐานสารสกัดผลิตภัณฑ์สมุนไพรต้องระบุสารออกฤทธิ์และสามารถวิเคราะห์ปริมาณของสารออกฤทธิ์ต่อน้ำหนักแห้งของสารสกัด หรือที่เรียกว่าสารสกัดมาตรฐาน (Standardized extract)
วัตถุประสงค์
1. การใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อบรรยายลักษณะเนื้อเยื่อพืชและพิสูจน์เอกลักษณ์สมุนไพรได้
2. การใช้เครื่องมือ HPLC ในการหาปริมาณสาระสำคัญในตำรับยาสมุนไพร
คำสำคัญ
การควบคุมคุณภาพสมุนไพร
วิธีสมัครการประชุม
Online