การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ หัวข้อ \"การรักษาผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลและมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย และทำอย่างไรเมื่อท้องเสีย\"
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ หัวข้อ \"การรักษาผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลและมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย และทำอย่างไรเมื่อท้องเสีย\"
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-032-06-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมวังคำ เชียงราย จังหวัดเชียงราย
วันที่จัดการประชุม 11 มิ.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรจังหวัดเชียงราย และจังหวัดข้างเคียง ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จำนวน ๑๐0 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
จากสภาพสังคมปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมรอบตัวของบุคคลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทำให้บุคคลต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนในสังคม โดยแสดงออกมาได้ในลักษณะของความเครียด ความวิตกกังวล ความระแวง หรือจนถึงเกิดอาการซึมเศร้าได้ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชากรที่แตกต่างจากอดีต ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาที่มีความชุกสูงในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งกรมสุขภาพจิต ได้ประเมินว่าปัญหาสุขภาพจิตที่น่าเป็นสำคัญสำหรับอนาคตของประเทศไทย 5 อันดับแรกคือ 1. โรคซึมเศร้า (depression) 2. โรคจิตเภท (schizophrenia) 3. โรควิตกกังวล (anxiety) 4. โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด (substance induced mental illness) 5. โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) และในการศึกษาที่ผ่านมาพบความชุกของการเกิดโรคทางจิตเวชของคนไทยร้อยละ 14.3 แต่มีการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเวชยังมีน้อย จากการรวมรวมข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่าการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคจิตของคนไทยเป็นร้อยละ 61.1 และโรคซึมเศร้า ร้อยละ 44.5 ซึ่งทำให้บุคลากรทางสาธารณสุขต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดูแลเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการมากขึ้น ส่วนโรคท้องเสีย ยังคงเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย เป็นโรคติดเชื้อที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในทุกกลุ่มอายุของคนไทย ยกเว้นในช่วงอายุ ๕ – ๑๔ ปี ที่พบโรคไข้เลือดออกมากกว่า แต่โรคท้องเสีย ก็ยังพบบ่อยเป็นอันดับสองในกลุ่มอายุดังกล่าว
กลุ่มเภสัชกรจังหวัดเชียงราย โดยความสนับสนุนจากบริษัท บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่เภสัชกร และผู้ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยทั้งในร้านยา โรงพยาบาล และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้มีความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ใกล้ตัวในปัจจุบัน ดังนั้น จึงได้จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง “การรักษาผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลและมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย และ ทำอย่างไรเมื่อท้องเสีย ” ขึ้น ในรูปแบบการบรรยาย ครึ่งวัน เนื้อหาประกอบด้วยข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับ อาการ เกณฑ์การวินิจฉัยโรค ผลและอาการดำเนินของโรค และแนวทางการรักษาผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลและมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย และ ทำอย่างไรเมื่อท้องเสีย

วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมให้เภสัชกรที่ดูแลผู้ป่วย ทั้งในร้านยา และโรงพยาบาล ได้ทราบสถานการณ์และเข้าใจถึง อาการ เกณฑ์การวินิจฉัยโรค ผลและอาการดำเนินของโรค และแนวทางการรักษาผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลและมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย และ ทำอย่างไรเมื่อท้องเสีย
คำสำคัญ