การประชุมวิชาการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Chromatography techniques for Vaccine Production
ชื่อการประชุม การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Chromatography techniques for Vaccine Production
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-016-05-2560
สถานที่จัดการประชุม วันที่ 27-28 มีนาคม พ.ศ. 2560 ภาคบรรยาย ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 ภาคปฏิบัติ ณ ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา ค
วันที่จัดการประชุม 27 -29 มี.ค. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย 1. บุคลากรจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่มีบทบาทในการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนตำรับวัคซีน 2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนก
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญประเภทหนึ่งของประเทศ การใช้ยาชีววัตถุประเภทวัคซีน
ท็อกซอยด์ หรืออิมมูโนโกลบูลินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดเชื้อที่สำคัญๆดังกล่าว ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆสำหรับการวิจัยพัฒนา กระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพวัคซีน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง มีประสิทธิผลและความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากวัคซีนส่วนใหญ่ได้จากกระบวนการหมักหรือการเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่อให้สามารถผลิตแอนติเจนพวกโปรตีน/เปปไทด์ หรือเชื้อที่ต้องการ แล้วนำไปทำบริสุทธิ์เพื่อให้ได้ตัวยาสำคัญสำหรับผลิตยาสำเร็จรูปต่อไป ดังนั้นการทำบริสุทธิ์จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการผลิตวัคซีน เพื่อให้แน่ใจว่าตัวเชื้อ หรือแอนติเจนพวกโปรตีน/เปปไทด์ ที่ได้มีความบริสุทธิ์ปราศจากสารปนเปื้อนทั้งชนิด process-related impurity ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการผลิตทั้งขั้นตอน upstream process และ downstream process ได้แก่ media component, host cell component, host cell debris, buffer, reagent รวมถึง resin และ ligand ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีสารปนเปื้อนประเภท product-related impurity ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลแตกต่างไปจากโครงสร้างที่ต้องการอาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิตหรือในขณะที่เก็บรักษายา การทำบริสุทธิ์จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อกำจัดสารปนเปื้อนที่ไม่ต้องการดังกล่าว นอกจากนั้นการควบคุมสารปนเปื้อนยังต้องดำเนินการในขั้นตอนของการควบคุมคุณภาพอีกด้วยโดยปริมาณและชนิดของสารปนเปื้อนถือเป็นข้อกำหนดหนึ่งที่ต้องแจ้งไว้ในข้อกำหนดมาตรฐานของตัวยา ในปัจจุบันเทคนิคโครมาโทกราฟีได้รับการพัฒนาให้เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงในการแยกและทำบริสุทธิ์ รวมถึงตรวจหาประเภทและปริมาณของสารปนเปื้อนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ โดยเทคนิคดังกล่าวได้ถูกพัฒนาให้สามารถแยกสารชีวโมเลกุลโดยอาศัยคุณสมบัติต่างๆทั้งทางกายภาพและเคมี เช่น ขนาด ประจุ ความชอบน้ำ/ไขมัน ความสามารถในการจับกับสาร ligand จำเพาะ เป็นต้น จึงทำให้เทคนิคโครมาโทกราฟีถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมมากขึ้นในงานวิจัยและพัฒนาสารชีวโมเลกุลโดยเฉพาะพวกโปรตีน/เปปไทด์ รวมถึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยาชีววัตถุและวัคซีนโดยใช้สำหรับทำบริสุทธิ์ในกระบวนการผลิตและตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ
ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ และสถาบันวัคซินแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ตระหนักว่า ความรู้ความเข้าใจในหลักการและการประยุกต์ใช้วิธีทำบริสุทธิ์และวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟี จะช่วยให้การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาชีววัตถุอื่นๆ มีความเข้มแข็ง รวมถึงเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ได้ยาชีววัตถุรวมถึงวัคซีนที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีประสิทธิผลและความปลอดภัยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อให้เกิดการยกระดับอุตสาหกรรมยาชีววัตถุของประเทศ จึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้นโดยมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีในอุตสาหกรรมยาชีววัตถุและวัคซีนมาร่วมในโครงการ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการทำบริสุทธิ์รวมถึงการวิเคราะห์สารปนเปื้อน ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟี ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยพัฒนา การผลิตและการควบคุมคุณภาพวัคซีนและยาชีววัตถุอื่นๆ
คำสำคัญ