การประชุมวิชาการ
การประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ครั้งที่ 22/2560 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อการวิจัยและพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมปฐมภูมิ (Qualitative Methodology for Primary Care Research and Development)
ชื่อการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรมคลินิก ครั้งที่ 22/2560 เรื่อง การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อการวิจัยและพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมปฐมภูมิ (Qualitative Methodology for Primary Care Research and Development)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-027-04-2560
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 24 -28 เม.ย. 2560
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย 1. เภสัชกรโรงพยาบาล หรือผู้ที่สนใจ 2. คณาจารย์ และ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปรากฏการณ์ด้านพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยในปัจจุบันแสดงให้เห็นชัดเจนว่า สุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนคนไทยมีความซับซ้อนที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ นโยบาย สังคม และผู้คนรอบข้าง ซึ่งทำให้ความหมายของคำว่าสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ มีความหลากหลายขึ้นกับบุคคลและบริบทรอบๆตัว ในขณะเดียวกันระบบสุขภาพของประเทศก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทั้งจากนโยบายด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทำให้บุคลากรทุกภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน โดยมีประชาชนและชุมชน มีส่วนร่วม ด้วยความเปลี่ยนแปลงดังตัวอย่างข้างต้นทำให้เภสัชกรซึ่งเป็นหนึ่งในบุคลากรด้านสุขภาพต้อง มีการปรับมุมมอง แนวคิดการทำงานให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยและระบบสุขภาพ
งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ เป็นงานที่ต้องการการประมวลความรู้ที่หลากหลาย ทั้งความรู้เรื่องโรคและการใช้ยา การคุ้มครองผู้บริโภค ความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพและบริบททางสังคม เป็นต้น นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับฝ่ายอื่นๆอย่างผสมผสาน ซึ่งเป็นงานเภสัชกรรมปฐมภูมิเป็นงานที่ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ในจังหวะที่ช้าหรือเร็ว แตกต่างกันไปตามความพร้อมของทั้งฝ่ายเภสัชกรรมเอง ตัวเภสัชกรและชุมชน
เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิให้เกิดขึ้นนั้น เภสัชกรผู้รับผิดชอบงานต้องการการสนับสนุนหลายด้าน ทั้งการปรับแนวคิดในการมองปรากฏการณ์ทางสังคมให้เข้าใจถึงเหตุปัจจัยและระบบสุขภาพ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การประเมิน และพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมปฐมภูมิที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการทั้งหมดต้องการการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ที่มีพื้นฐานจากการคิดแยกส่วน แบบกลไก มาสู่การคิดวิเคราะห์อย่างองค์รวม และการประเมินที่สนใจผลลัพธ์เชิงปริมาณ การตัดสินถูกผิด มาสู่การเข้าใจผลลัพธ์เชิงคุณภาพที่มีรายละเอียดบริบทกำกับ เพื่อใช้ในการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจ เห็นความเชื่อมโยง และเห็นช่องว่างสำหรับการพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองและระบบการทำงานต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เข้าใจหลักการคิด ปรัชญาของการวิจัยเชิงคุณภาพ
2. ประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการทำความเข้าใจ และพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมปฐมภูมิ
คำสำคัญ
Qualitative Methodology for Primary Care Research and Development