การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการภายใต้โครงการ 9 ไกล เบาหวาน: สุขภาพดี วิถีคนท่าเหนือ
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการภายใต้โครงการ 9 ไกล เบาหวาน: สุขภาพดี วิถีคนท่าเหนือ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-2-000-005-02-2560
สถานที่จัดการประชุม วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมต้นทองรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
วันที่จัดการประชุม 23 -24 ก.พ. 2560
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรสาธารณสุข, บุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, บุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์,ประชาชน, องค์การปกครองท้องถิ่น จำนวน 300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ เป็นวิทยาลัยที่เน้นสร้างเสริมสุขภาพ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ชุมชนและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า \"สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำด้านสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและเป็นที่ยอมรับในอาเซียน\" ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพนั้นหมายถึง กระบวนการที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น ซึ่งกลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ โดยฝ่ายบริการวิชาการแก่สังคมเป็นผู้รับผิดชอบจัดโครงการขึ้น
สถานการณ์ด้านสุขภาพในปี 2559 พบว่าประชากรรุ่นหลังมีกิจกรรมทางกายเพียง 1.14 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีอายุเฉลี่ย 17.5 ปี ที่เริ่มมีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา โดยประเทศไทยมีแนวโน้มของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อ้วนลงพุง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น ในสัดส่วนที่สูง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 300,000 กว่ารายในปี พ.ศ. 2552 หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ซึ่งแสดงให้เป็นว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่าทั้งโลก โดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและองค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์มีสถิติพบว่าประชาชนมีอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงและเบาหวานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้พยายามเร่งหามาตรการและกลวิธีในการจัดการใช้แนวทางในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัยหาโรคเรื้อรังด้วย \"นโยบายอำเภอจัดการสุขภาพและการออกแบบระบบการจัดการ (DHS + System Manager)\" รวมทั้งมีการดำเนินการ Service
สถานการณ์ด้านสุขภาพในปี 2559 พบว่าประชากรรุ่นหลังมีกิจกรรมทางกายเพียง 1.14 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีอายุเฉลี่ย 17.5 ปี ที่เริ่มมีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา โดยประเทศไทยมีแนวโน้มของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อ้วนลงพุง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น ในสัดส่วนที่สูง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 300,000 กว่ารายในปี พ.ศ. 2552 หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ซึ่งแสดงให้เป็นว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากกว่าทั้งโลก โดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและองค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์มีสถิติพบว่าประชาชนมีอัตราการเกิดความดันโลหิตสูงและเบาหวานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้พยายามเร่งหามาตรการและกลวิธีในการจัดการใช้แนวทางในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัยหาโรคเรื้อรังด้วย \"นโยบายอำเภอจัดการสุขภาพและการออกแบบระบบการจัดการ (DHS + System Manager)\" รวมทั้งมีการดำเนินการ Service Plan สำหรับสาขา NCDs มีการบูรณาการงานร่วมกับโครงการสุขภาพดีวิถีไทยเต็มพื้นที่ โดยใช้เครือข่าย DHS ในการกำหนดเป็นนโยบายของอำเภอ
การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขถือว่าเป็นบทบาทหนึ่งของวิทยาลัยพยาบาลลรมราชนนีอุตรดิตถ์ สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่จัดโครงการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ หรือบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เช่น พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และบุคลากรทางด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้ความรู้ เพิ่มความเชี่ยวชาญ และเสริมสร้างศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าว โดยเชื่อว่าการรักษาโรคเบาหวานจะสามารถรถลดาวะของโรคความดันโลหิตสูงได้
ดังนั้นกลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บริการวิชาการแก่สังคม จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้การบริการวิชาการแก่สังคม และศิษยืเก่าภายใต้ความต้องการของชุมชน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริการวิชาการและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพของประเทศและอาเซียน เป้าประสงค์ที่ 2 หลักสูตรการอบรมสอดคล้องกับความต้องการของระบบสุขภาพของประเทศ ตัวชี้วัด 2.1 ร้อยละของบุคลากรทางสุขภาพมีผลการประเมินสมรรถนะที่ถึงประสงค์และการสร้างเสริมสุขภาพโดยผู้ใช้บริการอยู่ในระดับมากขึ้นไป กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาสมรรถนะบัณฑิตและบุคลากรด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตัวชี้วัด 4.1.2 มีการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้แบบ CBL ในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร แผนงานที่ 6 บูรณาการกระบวนการเรียนรู้แบบ CBL ในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรตัวชี้วัด Pl 6. จำนวนหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรที่มีการบูรณาการกระบวนการเียนรู้แบบ CBL โดยวิทยาลัยร่วมมือกับสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ สาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ...
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรด้านสาธารณสุข ผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันเบาหวาน
2. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มสาขา NCDs เช่น พบาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ผู้ปฏิบัติงานสาธารณสุขในองค์กรปกครองส่วนนท้องถิ่น และกลุ่มประชาชน
3. เพื่อให้การบริการวิชาการแก่สังคมและศิษย์เก่า
คำสำคัญ
เบาหวาน, imagination, action, emotion
วิธีสมัครการประชุม
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์