บทความวิชาการ
การป้องกันอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile ด้วยโปรไบโอติก
ชื่อบทความ การป้องกันอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile ด้วยโปรไบโอติก
ผู้เขียนบทความ ภก.เชาวลิต มณฑล
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-1-000-002-04-2559
ผู้ผลิตบทความ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 28 เม.ย. 2559
วันที่หมดอายุ 27 เม.ย. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โปรไบโอติกเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เมื่อได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพได้ ปัจจุบันได้มีการนำโปรไบโอติกมาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น โดยมีการวิจัยทางคลินิกที่นำโปรไบโอติกมาใช้ป้องกันอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile ที่อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทความนี้จะกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอาการท้องเสียจากเชื้อ C. difficile โปรไบโอติก และงานวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการใช้โปรไบโอติก ซึ่งผลการวิจัยในภาพรวมยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดถึงประสิทธิภาพของโปรไบโอติกในการป้องกันอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ C. difficile เนื่องจากประสิทธิภาพของโปรไบโอติกขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิด สายพันธุ์ ขนาดและระยะเวลาการใช้โปรไบโอติก การใช้โปรไบโอติกไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง แต่ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ป่วยในระยะวิกฤติ ดังนั้น การนำโปรไบโอติกมาใช้ป้องกันอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ C. difficile ควรพิจารณาถึงประสิทธิภาพของโปรไบโอติก สภาวะของผู้ป่วย และความคุ้มค่าในการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย
คำสำคัญ
ท้องเสีย, Clostridium difficile, โปรไบโอติก