บทความวิชาการ
เภสัชภัณฑ์ที่ให้ทางปากรูปแบบออกฤทธิ์นาน (Extended-Release Oral Pharmaceutical Products)
ชื่อบทความ เภสัชภัณฑ์ที่ให้ทางปากรูปแบบออกฤทธิ์นาน (Extended-Release Oral Pharmaceutical Products)
ผู้เขียนบทความ จุฑาณี เขมาวาศน์, ประภัทร์ เปรมกิจวณิชกุล, จันทนา ห่วงสายทอง
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-001-01-2559
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 31 ม.ค. 2559
วันที่หมดอายุ 30 ม.ค. 2560
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เภสัชภัณฑ์ที่ให้ทางปากในรูปแบบเม็ดรับประทานมีหลักการที่สำคัญ คือ การนำส่งยาในปริมาณที่มีผลในการรักษาให้ถึงเป้าหมายอย่างรวดเร็ว และรักษาความเข้มข้นของตัวยาในระดับคงที่ที่เพียงพอต่อการรักษา เภสัชภัณฑ์ที่ให้ทางปากระยะแรกอยู่ในรูปแบบปลดปล่อยทันที (conventional หรือ immediate release dosage form) โดยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย ตัวยาจะถูกปลดปล่อยจากเภสัชภัณฑ์ ถูกดูดซึมในทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นถูกกำจัดออกจากร่างกายผ่านกระบวนต่างๆ การที่ยาจะมีผลในการรักษา ความเข้มข้นตัวยาที่ตำแหน่งออกฤทธิ์การรักษา (site of action) ต้องสูงกว่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ให้ผลการรักษา (minimum effective concentration; MEC) แต่ไม่สูงเกินความเข้มข้นต่ำสุดที่ทำให้เกิดพิษ (minimum toxic concentration; MTC) (รูปที่ 1) เพื่อให้เกิดผลการรักษาอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาการรักษา จึงจำเป็นต้องรักษาระดับความเข้มข้นยาในเลือดให้คงที่ ให้อยู่ระหว่างช่วง MEC กับ MTC ซึ่งเรียกว่า “therapeutic range” ด้วยเหตุนี้ในเภสัชภัณฑ์ที่ให้ทางปากหลายชนิดจึงต้องบริหารวันละ 3-4 ครั้ง จึงทำให้ไม่สะดวกต่อการบริหารยาในผู้ป่วย และทำให้ความร่วมมือในการใช้ยา (compliance) ลดลง และส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ที่ให้ทางปากรูปแบบออกฤทธิ์นาน (extended release dosage from) เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาและคงระดับยาในเลือดได้สม่ำเสมอกว่า ทำให้ประสิทธิภาพการรักษาเพิ่มขึ้น1
คำสำคัญ
Drug Delivery System, Modified Release dosage form, Delayed-Release, Extended Release
วิธีสมัครสมาชิก
สมัครสมาชิกได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/member.php

เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe