บทความวิชาการ
ระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม (Pharmacy Automation System: Pharmacy Robots) Mobile CPE 4
ชื่อบทความ ระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม (Pharmacy Automation System: Pharmacy Robots) Mobile CPE 4
ผู้เขียนบทความ ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-001-03-2562
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 11 มี.ค. 2562
วันที่หมดอายุ 10 มี.ค. 2563
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม 2. เพื่อให้เข้าใจถึงการพัฒนาและแนวโน้มความต้องการของระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม 3. เพื่อให้เข้าใจถึงประเภทของระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม 4. เพื่อให้เข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม บทคัดย่อ การพัฒนาระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม เริ่มต้นจาก เครื่องนับเม็ดยา เมื่อ 50 ปีก่อน ตามด้วยเครื่องผสมสารอาหารทางหลอดเลือดดำ เครื่องจัดยาเฉพาะมื้อสำหรับผู้ป่วยใช้ครั้งเดียว (unit dose) และเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ เพื่อทดแทนคลังยาย่อยบนหอผู้ป่วย ส่งผลเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกเภสัชกรรม สามารถจัดยาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยา ช่วยให้แผนกเภสัชกรรมทำงานได้มากยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับระบบบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่สามารถนำไปวิเคราะห์ และจัดทำรายงานเพื่อฝ่ายจัดการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ตอบสนองต่อความต้องการของระบบสุขภาพที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ทั่วโลกมีแนวโน้มความต้องการติดตั้งระบบนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนร้านขายยาในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่อย่างไรก็ตามระบบนี้มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณการลงทุนที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก พื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งและรับน้ำหนักเครื่องจักร ทัศนคติไม่เห็นด้วยของผู้ปฏิบัติงาน และข้อบกพร่องของระบบคอมพิวเตอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงควรนำปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาพินิจพิจารณาอย่างรอบครอบทุกมิติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อประยุกต์ระบบดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่องานเภสัชกรรม อันจะส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพบริการที่ดีที่มีต่อผู้ป่วยและระบบสุขภาพ
คำสำคัญ
คำสำคัญ: ระบบอัตโนมัติทางเภสัชกรรม, Pharmacy Automation System, Pharmacy Robots
วิธีสมัครสมาชิก
www.pat.or.th