บทความวิชาการ
การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย
ชื่อบทความ การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ. อดิณัฐ อำนวยพรเลิศ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-004-12-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 24 ธ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 23 ธ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ประเทศไทยเริ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยา โดยจัดตั้งศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction Monitoring Center; ADRMC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข และได้บรรจุกิจกรรมการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาไว้ในแผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 6 (ปี พ.ศ.2560-2534) กระทั่งต่อมา พ.ศ.2535 ได้บรรจุงานเฝ้าระวังติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในแผนงานพัฒนาระบบบริหารของสถานพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุข (พบส.) ให้เป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานของงานเภสัชกรรม และได้ขยายศูนย์เครือข่ายระดับเขตในส่วนภูมิภาคตามโครงสร้าง พบส. อย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ.2540 ขอบเขตการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศไทย ได้ขยายวงกว้างไปยังผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ นอกเหนือจากงานเฝ้าระวังติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และมีการเปลี่ยนชื่อศูนย์ใหม่เป็น ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กระทั่งปี พ.ศ.2551 จึงได้มีมีการเปลี่ยนชื่อศูนย์อีกครั้งเป็น ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Health Product Vigilance Center; HPVC) หรือศูนย์ HPVC ดังเช่นปัจจุบัน (ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ, 2558)
คำสำคัญ
1. การเฝ้าระวังความปลอดภัย 2. ผลิตภัณฑ์สุขภาพ