บทความวิชาการ
ระบบนำส่งยาทางผิวหนัง
ชื่อบทความ ระบบนำส่งยาทางผิวหนัง
ผู้เขียนบทความ ดร. อังคนา วิชิต
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
รหัสกิจกรรม 1011-1-000-001-11-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 28 พ.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 27 พ.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักของระบบนำส่งยาเข้าสู่ผิวหนังคือการนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ที่ต้องการให้ไปยังเซลล์เป้าหมายภายในผิวหนังได้อย่างเหมาะสมและรวมถึงเซลล์เป้าหมายที่อวัยวะอื่น ๆ ด้วยการนำส่งตัวยาเข้าสู่กระแสเลือดโดยไม่ผ่าน first pass metabolism กล่าวคือ ปริมาณยาพอเพียงต่อการออกฤทธิ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาและ มีความปลอดภัยต่อการใช้ ผิวหนังชั้น stratum corneum ถือเป็นปราการด่านสำคัญชั้นเดียวที่มีผลต่อการดูดซึมตัวยาเข้าสู่ผิวหนังชั้นในของร่างกาย คุณสมบัติทางอุดมคติของตัวยาที่สามารถผ่านผิวหนังได้ดีนั้น โมเลกุลของตัวยาต้องมีขนาดโมเลกุลของสารน้อยกว่า 500 ดาลตันไม่มีประจุ และควรมีค่าสัดส่วนการละลายระหว่างน้ำมันและน้ำอยู่ในช่วง 1-3 อย่างไรก็ตาม ตัวยาสำคัญหลายชนิดมักมีประจุและมีค่าการละลายต่ำ จึงเป็นข้อจำกัดต่อการดูดซึมตัวยาสำคัญเข้าสู่เซลล์เป้าหมายที่อยู่ในผิวหนังชั้นในรวมถึงเซลล์เป้าหมายที่อวัยวะอื่น ๆ ด้วยการนำส่งตัวยาเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้น เทคโนโลยีที่ใช้เตรียม ระบบนำส่งยาขนาดเล็กระดับนาโนเมตรจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการกักเก็บโมเลกุลของตัวยาสำคัญไว้ภายในอนุภาค เพื่อนำส่งตัวยาสำคัญไปยังอวัยวะเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งสามารถควบคุมการปลดปล่อยตัวยาสำคัญได้อันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน รวมถึงอาจช่วยลดผลข้างเคียงของตัวยาสำคัญได้อีกด้วย ในบทความนี้มุ่งเน้นนำเสนออนุภาคนำส่งยารูปแบบคอลลอยด์ชนิดต่าง ๆ ที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ส่วนประกอบที่สำคัญของการเตรียมอนุภาค วิธีการเตรียม กลไกการนำส่งเข้าสู่ผิวหนังชั้นใน ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้
คำสำคัญ
ระบบการนำส่งทางผิวหนัง อนุภาครูปแบบคอลลอยด์ขนาดเล็ก การแพร่ผ่านเข้าสู่ผิวหนัง ความปลอดภัย