บทความวิชาการ
แนวปฏิบัติการใช้ยาต้านเชื้อราสำหรับการติดเชื้อราที่ผิวหนังในร้านยา
ชื่อบทความ แนวปฏิบัติการใช้ยาต้านเชื้อราสำหรับการติดเชื้อราที่ผิวหนังในร้านยา
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.เชิดชัย สุนทรภาส
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-1-000-005-11-2561
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 23 พ.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 22 พ.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดและเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุดของร่างกาย (ประมาณ 1.5-2 ตรม.) มีความหนาประมาณ 1-4 มม. สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชั้น เมื่อเรียงจากชั้นนอกไปในสุดตามลำดับคือ ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ชั้นหนังแท้ (dermis) และชั้นใต้ผิวหนัง (hypodermis หรือ subcutis) โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันตนเองจากการติดเชื้อประกอบด้วย การป้องกันทางกายภาพ (physical barrier) การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (immunity) และการมีจุลชีพประจำถิ่น (resident microbiota) ดังนั้นหากกลไกป้องกันเหล่านี้สูญเสียหน้าที่ไปจะทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อราที่ผิวหนังได้ โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับติดเชื้อราที่ผิวหนัง ได้แก่ อากาศที่ร้อน ชื้น ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อราที่ผิวหนังคือผู้ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี เหงื่อออกมาก ผิวมัน ไม่ค่อยอาบน้ำ ผิวหนังมีร่อง/รอยพับมาก ชอบนั่งอยู่กับที่ นอนติดเตียง เลี้ยงสัตว์ มีการบาดเจ็บของผิวหนัง หรือเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยมีการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตที่ลดลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
คำสำคัญ
กลาก, เกลื้อน, แคนดิดา, เชื้อราที่ผิวหนัง