บทความวิชาการ
วิธีการเบื้องต้นในการทดสอบสารมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ในอนาคต
ชื่อบทความ วิธีการเบื้องต้นในการทดสอบสารมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ในอนาคต
ผู้เขียนบทความ ภก.ณัฐพนธ์ ทรงนาคา
สถาบันหลัก สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รหัสกิจกรรม 1016-1-000-005-09-2561
ผู้ผลิตบทความ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 05 ก.ย. 2561
วันที่หมดอายุ 04 ก.ย. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
สถานการณ์ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่งผลต่อจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตหรือได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งจัดเป็นปัญหาระดับสาธารณสุข รวมถึงประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเดียวกันนี้ ประกอบกับปัจจุบันในช่วงระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมาไม่มีการค้นพบยาปฏิชีวนะที่มีกลไกการออกฤทธิ์รูปแบบใหม่ ทำให้ปัจจุบันมีวิธีเดียวที่สามารถแก้ไขปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียต่อยาปฏิชีวนะอย่างมีประสิทธิภาพ คือการเร่งค้นหายาปฏิชีวนะตัวใหม่ ซึ่งบทความนี้ได้กล่าวถึงวิธีการทดสอบฤทธิ์ของสารต้านเชื้อแบคทีเรียในเบื้องต้น ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถทำได้ง่ายในห้องปฏิบัติการระดับทั่วไป ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เพื่อใช้ในการคัดกรองสารเคมีที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ได้จาก สัตว์ พืช จุลชีพ และ แร่ธาตุ ได้แก่ วิธีการ Agar well diffusion วิธีการ Cross streak วิธีการ Agar diffusion วิธีการ Thin-layer chromatography (TLC)- bioautography โดยวิธีการดังกล่าวสามารถทำให้นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจในการค้นหาสารที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียทำการทดลองได้สะดวกรวดเร็ว และเป็นการผลักดันให้เกิดการค้นพบสารที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่เพื่อนำไปสู่การพัฒนายาปฏิชีวนะต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ