บทความวิชาการ
บทบาทของเภสัชกรชุมชนในการรักษาโรคอ้วน
ชื่อบทความ บทบาทของเภสัชกรชุมชนในการรักษาโรคอ้วน
ผู้เขียนบทความ เภสัชกรกิติยศ ยศสมบัติ
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-1-000-006-05-2561
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 22 พ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 21 พ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
โรคอ้วนคือภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเนื้อเยื่อไขมันและร่างกายส่วนต่าง ๆ มากเกินเกณฑ์ปกติซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขของประชากรโลกในทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยเนื่องจากโรคอ้วนเป็นสาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคกระดูกและข้อ โรคของระบบประสาทและจิตเวช โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง และ เพิ่มโอกาสเสียชีวิตจากสาเหตุต่าง ๆ เมื่อเทียบกับประชากรวัยเดียวกันที่ไม่มีโรคอ้วน1, 2 การประเมินเพื่อวินิจฉัยโรคอ้วนในทางทฤษฎีต้องการเครื่องวัดที่สามารถวิเคราะห์มวลไขมันในร่างกายได้ เช่น การถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging: MRI) หรือ การวัดการดูดกลืนรังสี (dual energy X-ray absorptiometry: DEXA) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและจำกัดเฉพาะในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมเท่านั้น การวินิจฉัยโรคอ้วนในปัจจุบันจึงใช้การวัดทางอ้อมโดยวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและมีการศึกษาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผลการวัดวิธีนี้กับการเกิดโรคต่าง ๆ คือการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (body mass index: BMI)3
คำสำคัญ
1. พยาธิสรีรวิทยาของโรคอ้วน 2. แนวทางในการรักษาโรคอ้วนและทางเลือกในการรักษาโรคอ้วนในร้านยา 3. บทบาท