บทความวิชาการ
ยารักษาโรคท้องผูกเรื้อรัง: ปัจจุบันและอนาคต
ชื่อบทความ ยารักษาโรคท้องผูกเรื้อรัง: ปัจจุบันและอนาคต
ผู้เขียนบทความ รศ.ดร.ภญ. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-1-000-013-09-2560
ผู้ผลิตบทความ คลังข้อมูลยา
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 11 พ.ค. 2561
วันที่หมดอายุ 10 พ.ค. 2562
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ท้องผูกเป็นภาวะที่ถ่ายอุจจาระลำบาก โรคท้องผูกแบ่งตามสาเหตุออกเป็นโรคท้องผูกปฐมภูมิ (primary constipation) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่ลำไส้โดยตรง และโรคท้องผูกทุติยภูมิ (secondary constipation) ซึ่งเกิดจากโรคหรือความผิดปกติจากที่อื่น หรือแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดอาการท้องผูกออกเป็นโรคท้องผูกเฉียบพลันซึ่งมีอาการน้อยกว่า 3 เดือน และโรคท้องผูกเรื้อรังซึ่งมีอาการนานกว่า 3 เดือน การรักษาโรคท้องผูกนั้นในเบื้องต้นควรพิจารณาเรื่องอาหารและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในกรณีโรคท้องผูกทุติยภูมิต้องรักษาที่ต้นเหตุเป็นหลัก ในการรักษาโรคท้องผูกด้วยยามักเริ่มด้วยยาระบาย (laxatives) ซึ่งแบ่งเป็นหลายกลุ่มตามการออกฤทธิ์ กลุ่มที่มีบทบาทมาก ได้แก่ bulk-forming laxatives (เช่น psyllium, methylcellulose), osmotic laxatives (เช่น polyethylene glycol, lactulose, magnesium hydroxide) และ stimulant laxatives (เช่น bisacodyl, senna) หากใช้ยาระบายไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดี อาจพิจารณาใช้ยากระตุ้นสารหลั่ง (secretagogues) ซึ่งแบ่งตามการออกฤทธิ์ออกเป็น ยากระตุ้น chloride channel type 2 (เช่น lubiprostone) ยากระตุ้น guanylate cyclase-C (เช่น linaclotide, plecanatide) และยายับยั้ง sodium-hydrogen exchanger (เช่น tenapanor ยานี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษา) หากใช้ยาเหล่านี้ไม่ได้ผลอาจพิจารณาใช้ serotonergic prokinetic drugs ที่ออกฤทธิ์ต่อตัวรับซีโรโทนินชนิด 5-HT4 (เช่น prucalopride) ส่วนยากลุ่มใหม่ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและได้รับความสนใจมากคือกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมน้ำดี (เช่น elobixibat) นอกจากนี้ในปัจจุบันโรคท้องผูกจากโอปิออยด์พบได้มากขึ้น จึงมียาที่ออกฤทธิ์เจาะจงในการต้านโอปิออยด์ที่ตัวรับนอกระบบประสาทส่วนกลาง (peripherally acting mu-opioid receptor antagonists) มาใช้รักษา (เช่น methylnaltrexone, naloxegol, naldemedine) ยาในกลุ่มต่างๆ ที่กล่าวมานั้นมีอาการไม่พึงประสงค์แตกต่างกันตามการออกฤทธิ์ อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วมีอาการไม่รุนแรง ส่วนใหญ่ที่พบเป็นอาการปวดท้อง ท้องเดิน
คำสำคัญ
constipation, bulk-forming laxatives, osmotic laxatives, stimulant laxatives, chloride channel type
วิธีสมัครสมาชิก


เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านบทความแล้วทำแบบทดสอบ Online ได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/cpe