บทความวิชาการ
(วารสารยาน่ารู้) Update เภสัชวิทยาของยารักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงในโรคเกาต์ (Update pharmacology of drugs used for management of hyperuricemia in gout)
ชื่อบทความ (วารสารยาน่ารู้) Update เภสัชวิทยาของยารักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงในโรคเกาต์ (Update pharmacology of drugs used for management of hyperuricemia in gout)
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ
สถาบันหลัก เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
รหัสกิจกรรม 2001-1-000-005-10-2560
ผู้ผลิตบทความ เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 31 ต.ค. 2560
วันที่หมดอายุ 30 ต.ค. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ ซี่งมีสาเหตุจากการผลิตกรดยูริกในเลือดมากกว่าปกติ (overproduction) และ/หรือ หรือเกิดจากร่างกายมีการขับกรดยูริกออกจากร่างกายต่ำกว่าปกติ (under excretion) การที่ร่างกายมีปริมาณกรดยูริกสะสมในเลือดมากกว่าระดับที่สามารถละลายได้จะเกิดเป็น monosodium urate crystals (MSU) สะสมตามข้อหัวเข่า นิ้วเท้า ข้อศอก ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นปุ่มโทฟัส (tophus) และทำให้เกิดการปวดและอักเสบฉับพลันอย่างรุนแรง โดยพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์ส่วนใหญ่พบภาวะกรดยูริกในเลือดสูงร่วมด้วย นอกจากนั้นปัจจุบันพบความสัมพันธ์ของโรคเกาต์กับการเกิดกลุ่มโรคเมตาบอลิก (metabolic syndrome) โรคไต โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคไขมันในเลือดสูง ยาที่ใช้รักษาเป็น first-line drugs ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคเกาต์ ได้แก่ ยากลุ่ม xanthine oxidase inhibitors เช่น allopurinol และ febuxostat นอกจากนั้นหากยังไม่สามารถควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดได้ จะใช้ร่วมกับยากลุ่ม uricosurics เช่น benzbromarone, probenecid และ lesinurad โดยหากใช้ไม่ได้ผลหรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีกรดยูริกสะสมตามข้อเป็นปริมาณมาก จึงใช้ยากลุ่ม uricases เช่น pegloticase ซึ่งยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ สลายกรดยูริก ให้อยู่ในรูปของ allantoin ซึ่งละลายในน้ำได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนายาชนิดใหม่และแนวทางใหม่ในการรักษาโรคเกาต์มากขึ้น ดังนั้นในปี 2016 สถาบัน European League Against Rheumatism (EULAR) จึงได้ทำการปรับปรุงแนวทางในการรักษาโรคเกาต์โดยใช้ข้อมูลที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based data) ให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ และการปฏิบัติตนร่วมกับการเลือกยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากขึ้น
คำสำคัญ
คำสำคัญ: hyperuricemia, gout, allopurinol, xanthine oxidase inhibitors, uricosurics, uricases
วิธีสมัครสมาชิก
www.thaipharma.net