บทความวิชาการ
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบ ในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก
ชื่อบทความ ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบ ในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก
ผู้เขียนบทความ กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด
สถาบันหลัก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5001-1-000-002-11-2560
ผู้ผลิตบทความ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 14 พ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 13 พ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
มนุษย์แบ่งเป็นสามชาติพันธุ์ใหญ่ๆ ได้แก่ คนผิวขาว (Caucasoids) คนผิวดำ (Negroids) และ คนผิวเหลือง (Mongoloids) แต่ละกลุ่มมีพันธุกรรมที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีหมู่เลือดชนิดต่างๆ แตกต่างกันด้วย การศึกษาชนิดของหมู่เลือดในมนษุย์ชาติพันธุ์ เป็นประโยชน์ต่องานด้านวิทยาศาสตร์ห์ลาย แขนง ในงานธนาคารเลือดและการบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย การศึกษาหมู่เลือดชนิดต่างๆ เป็นงานสำคัญเนื่องจากมีผู้บริจาคโลหิตหลายเชื้อชาติและแต่ละเชื้อชาติมีหมู่เลือดหายาก (rare blood types) ที่ไม่เหมือนกัน หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมากในคนผิวเหลือง เช่น ในคนไทย พบ variant MNS หรือ Miltenberger subclasses ประมาณร้อยละ 9.1 และ Dia positive ประมาณ ร้อยละ 2.99 หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมากในคนผิวดำ เช่น พบ Fy(a-b-) ประมาณร้อยละ 67 และ บางชนิดพบมากในคนผิวขาว เช่น พบ Rh negative ประมาณร้อยละ 15 เป็นต้น การศึกษาร้อยละของ หมเู่ลือดต่างๆ จะทำให้สามารถจัดหาเลือดที่หาได้ยากที่มักจะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้งให้เพียงพอกับความต้องการได้ สำหรับฝ่ายผลิตน้ำยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ การตรวจ หา rare blood types เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตเซลล์มาตรฐาน ได้แก่ screening cells, pool O cells และ identification panel cells ผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดนี้ต้องใช้ rare blood types เป็น วัตถุดิบในการผลิต เพื่อแจกจ่ายให้แก่ธนาคารเลือดของโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศใช้ในการตรวจ กรองและตรวจแยกชนิดของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ในโลหิตบริจาคและ ผู้ป่วยที่ต้องรับเลือด
คำสำคัญ