บทความวิชาการ
พืชกัญชา : ประโยชน์ โทษและข้อเสนอการพัฒนาการกำกับดูแล
ชื่อบทความ พืชกัญชา : ประโยชน์ โทษและข้อเสนอการพัฒนาการกำกับดูแล
ผู้เขียนบทความ ภก. ชาญชัย เอื้อชัยกุล
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2006-1-000-002-11-2560
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมทะเบียนและกฎหมายผลิตภัณฑ์ (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 14 พ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 13 พ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
พืชกัญชา : ประโยชน์ โทษและข้อเสนอการพัฒนาการกำกับดูแล พืชกัญชา มีสารสำคัญคือ สารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) มากกว่า 100 ตัว โดยมีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol-THC) เป็นสารสำคัญ ซึ่งให้ผลที่ทำให้เกิดการกระตุ้นประสาท กัญชาเป็นพืชที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ในการบำบัดรักษาอาการจิตเวชและระบบประสาท การรักษาอาการไม่อยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น หลายประเทศยอมรับให้ใช้กัญชาในการรักษาทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม กัญชาเป็นยาเสพติดที่มีการระบาดมาก มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ในประเทศไทย พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดการควบคุมกัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นรายๆ ไป และยังห้ามมิให้ผู้ใดเสพกัญชาอีกด้วย ทำให้เป็นอุปสรรคในการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้การใช้กัญชาในทางการแพทย์ของไทย จึงเสนอให้ทบทวนการควบคุมดูแล และการใช้ประโยชน์ของกัญชา โดยต้องมีหน่วยงานหลักในการประสานและบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาให้สามารถใช้ประโยชน์จากพืชกัญชาได้อย่างเต็มที่
คำสำคัญ
กัญชา