บทความวิชาการ
Drug-induced weight gain
ชื่อบทความ Drug-induced weight gain
ผู้เขียนบทความ ดร.ภญ.กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
รหัสกิจกรรม 1014-1-000-005-09-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 06 ก.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 05 ก.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
Weight gain (ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั้งจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม บ่งบอกถึงความไม่สมดุลของจำนวนพลังงานที่รับเข้าสู่ร่างกายต่อวัน และที่ถูกเผาผลาญไป เป็นสิ่งสะท้อนถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน และบางครั้งก็เป็นผลไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา นำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนซึ่งมีผลต่อสุขภาพที่จะตามมาอีกหลายโรค เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อพิจารณาข้อมูลทางระบาดวิทยา จากแนวทางของ The national institutes of health กำหนดให้ ค่า body mass index (BMI) ที่มากกว่า 25 ถือว่าเป็นภาวะน้ำหนักตัวเกิน และถ้ามากกว่า 30 ถือว่าเป็นโรคอ้วน (เกณฑ์สำหรับประชากรในเอเชีย จะใช้ค่าที่มากกว่า 22.9 ถือว่าน้ำหนักตัวเกิน และค่าที่มากกว่า 25 ถือว่าเป็นโรคอ้วน) ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่า ประชากรประมาณร้อยละ 35.5 กำลังอยู่ในภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน องค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลของประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ประเทศมาเลเซีย มีประชากรผู้ใหญ่ที่มี BMI มากกว่า 25 มีจำนวนถึงร้อยละ 44.2 และ BMI มากกว่า 30 มีจำนวนถึงร้อยละ 14 และประเทศไทยรองลงมาคือ มีประชากรผู้ใหญ่ที่มี BMI มากกว่า 25 มีจำนวนถึงร้อยละ 32.2 และ BMI มากกว่า 30 มีจำนวนถึงร้อยละ 8.8 ตามลำดับ นับว่าเป็นประเด็นทางสาธารณสุขที่กำลังวิกฤตอยู่ในขณะนี้
คำสำคัญ