บทความวิชาการ
ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารบีตากลูแคน (β-glucan) ในเห็ด
ชื่อบทความ ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารบีตากลูแคน (β-glucan) ในเห็ด
ผู้เขียนบทความ ภก.ภูเบศร์ นิลาทะวงศ์
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-1-000-004-06-2560
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 13 มิ.ย. 2560
วันที่หมดอายุ 12 มิ.ย. 2561
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรเห็ดรา ในประเทศไทยมีการนำเห็ดมาปรุงแต่งเป็นอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งปัจจุบันมีการบริโภคเห็ดเป็นจำนวนมาก เห็ดจึงถูกนำมาแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบต่างๆเพื่อให้รับประทานได้สะดวกขึ้น เช่น แคปซูล ผงชง หรือ กาแฟเห็ด เป็นต้น ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัย พบว่า เห็ดประกอบด้วยสารชีวโมเลกุลมากมายหลายชนิดที่มีคุณค่าทั้งทางด้านโภชนาการและทางด้านการแพทย์ ซึ่งสารบีตากลูแคน เป็นหนึ่งในสารประกอบที่พบมากในเห็ด สารบีตากลูแคน เป็นสารประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส ที่เรียงต่อกันเป็นสายเชื่อมด้วยพันธะบีตาไกลโคซิดิก สารบีตากลูแคนพบได้ทั้งใน ยีสต์ รา ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และเห็ด บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสารบีตากลูแคนที่พบในเห็ดชนิดต่างๆ ทั้งทางด้านโครงสร้างและคุณสมบัติของสารบีตากลูแคน รวมทั้งฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอก ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์และปริมาณที่แนะนำบริโภค เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเห็ดต่อไป
คำสำคัญ
สารบีตากลูแคน, ฤทธิ์ทางชีวภาพ